ประโยชน์ที่ได้รับจากงานบริการวิชาการ
โครงการนี้เป็นการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า (ทุนหมุนเวียน) อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมทั้งมีการนำระบบประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนที่เป็นมาตรฐานสากลมาใช้กับสำนักงาน กกพ.
ทั้งนี้ ได้นำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงาน นำไปประยุกต์ใช้กับผลการศึกษา ทำให้สามารถนำเสนอเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์กร
ประโยชน์ที่ได้รับ คือ สำนักงาน กกพ. มีผลประเมินการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า (ในฐานะทุนหมุนเวียน) รวมทั้งมีข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้น
จุดเด่นของโครงการนี้ คือ เกิดแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ที่จะนำไปใช้กับหน่วยงานการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยจะต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
แผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาตินี้จะเป็นตัวกำหนดแผนปฏิบัติการ (action plan) ที่จะนำไปกำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ และเป็นแนวทางในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนต่อเรื่องการสื่อสารและการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ แผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ทำให้เกิดการกำหนดเรื่องสื่อสารสำคัญให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของชาติ ด้วยการบริหารประเด็นข้อมูลข่าวสารต่างๆ การปฏิบัติการสารสนเทศต่อต้านข่าวปลอม และพัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอันสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง
โครงการนี้มีความเกี่ยวข้องกับ ICO หรือ Initial Coin Offering ซึ่งเป็นการระดมทุนแบบดิจิทัลด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ผ่านระบบบล็อกเชนต่อสาธารณชน
ทั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาและวิจัยความเป็นไปได้ในการออก Asset-backed ICO ซึ่งจะทำให้เกิดองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร คือ เกิดเครี่องมือการนำเสนอรูปแบบการระดมทุนในยุคดิจิทัลที่มีความรวดเร็ว คล่องตัว และสามารถซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ได้ทั่วโลก
โครงการนี้เป็นการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
การสำรวจนี้เป็นงานวิจัยที่มีการพัฒนาเครื่องมือวิจัยการประเมินความพอใจให้มีความทันสมัย องค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถนำเครื่องมือวิจัยไปใช้เป็นแนวทางเพื่อการประเมินความพึงพอใจในองค์กรของตนเองได้
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ โครงการสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการต่อการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของ สพภ. ในการสำรวจความพึงพอใจทั้ง 3 แผนงาน 6 กิจกรรม พบว่า คะแนนความพึงพอใจในการให้บริการต่อการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของ สพภ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อยู่ในระดับดีเยี่ยม
โครงการนี้เป็นการยกระดับโรงเรียนสู่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้พร้อมรับการประเมินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาและสถานศึกษาพอเพียง ด้วยการพัฒนาบุคลากรการศึกษาและเยาวชนไทยในสถานศึกษาที่ร่วมโครงการ ให้เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม โดยยึดหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
ทั้งนี้ได้นำองค์ความรู้และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในทุกมิติของการดำเนินงาน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้สามารถใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาควิชาการ บุคลากรในภาคการศึกษา และชุมชน
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ ได้วิทยากรพี่เลี้ยงที่มีภูมิลำเนาอยู่ใกล้กับสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจและมีความสามารถในการถ่ายทอด เพื่อพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเป้าหมายให้สามารถน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนและเป็นเครือข่ายบุคลากรด้านการศึกษาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่และในลักษณะออนไลน์
โครงการนี้เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทย ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นต่าง ๆ ของผู้ประกอบการธุรกิจ
ทั้งนี้ได้นำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้ด้านการสำรวจความคิดเห็นมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา และสรุปเป็นข้อเสนอแนะให้กับองค์กร เพื่อที่จะสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ องค์กรได้รับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทย รับรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็นและทัศนคติ ของผู้ประกอบการธุรกิจ ซึ่งจะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลดีต่ออนาคตขององค์กร
โครงการนี้เป็นการสำรวจความพึงพอใจทั้งในส่วนของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กฟผ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานด้านลูกค้าสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามแผนงาน ซึ่งลูกค้าของ กฟผ. มีลักษณะที่แตกต่างกันไป จึงได้ทำการจำแนกกลุ่มลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกเป็นประเภทและทำการสำรวจด้วยวิธีที่แตกต่างกัน โครงการนี้จึงใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นการรับรองว่าผลที่ได้มีความน่าเชื่อถือ
ผลการศึกษาที่ได้เป็นประโยชน์ให้หน่วยงาน กฟผ. ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานและนำไปสู่การปรับกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากและมีทัศนคติที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร
ความน่าสนใจของโครงการ คือ เป็นโครงการให้คำปรึกษาเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติและติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน กสทช. ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561-2564) รวมทั้งเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคลากรของ กสทช. เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับแผนระดับต่าง ๆ และสามารถบรรลุผลได้ตามที่ตั้งไว้
สำนักงาน กสทช. ได้นำประโยชน์ในการเพิ่มขีดความสามารถมาใช้ในการวางแผนและการบริการจัดการ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1. เพิ่มขีดความสามารถในด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ให้บรรลุได้ตามเป้าประสงค์ พร้อมกับรณรงค์ให้บุคลากรเข้าใจถึงแผนยุทธศาสตร์
2. เพิ่มขีดความสามารถในด้านการติดตามและประเมินผล ความสำเร็จในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
3. เพิ่มขีดความสามารถในด้านการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ ไปสู่การปฏิบัติและติดตามการประเมินผลให้กับบุคลากรของ กสทช.
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ
1. การวิเคราะห์และทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์ ได้เสนอเป้าหมายเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ เกณฑ์ตรวจวัด และตัวชี้วัด
2. การจัดทำแผนบูรณาการขับเพื่อเคลื่อนการดำเนินงานของ กสทช. ประกอบด้วย 21 แผนงาน ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์
3. การบูรณาการโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาแผนการปฏิบัติงาน จำนวน 112 โครงการ
4. การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนและการติดตามการประเมินผลแผนยุทธศาสตร์
5. การจัดกิจกรรมให้บุคลากรตระหนักและเข้าใจในแผนยุทธศาสตร์
6. การพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลที่เหมาะสมกับแผนยุทธศาสตร์
7. การติดตามประเมินผล แผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้อง
8. การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เพื่อการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติ
โครงการนี้เป็นการวินิจฉัยด้วยเครื่องมือ Emo-meter (Employee Engagement Survey) และ Nine Cells โดยการฝึกอบรมให้กับทางผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงได้นำไปใช้จริงและเกิดเป็นแผนการพัฒนาองค์การ
สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อแนวทางการพัฒนา การเขียนรายงานประกันคุณภาพทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ (EdPEx, AUN-QA หรืออื่นๆ)
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ การวินิจฉัยองค์การด้วยการใช้เครื่องมือ Nine Cells & Emo-meter สะท้อนความสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานขององค์กรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
โครงการนี้เป็นการสำรวจความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจของกลุ่มลูกค้าภายใน กฟผ. รวมทั้งความต้องการ ความคาดหวัง ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัจจัยเสนอที่ทำให้เกิดความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ การรับรู้ ความภักดีของกลุ่มลูกค้า เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนางานบริการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าและเพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพงาน ประสิทธิภาพและการให้บริการ
จุดเด่นของโครงการ คือ ได้มีการนำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ การบริหารองค์กร มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะแก่องค์กร ประกอบกับหน่วยงานที่ทำการศึกษาเป็นรัฐวิสาหกิจที่สำคัญของประเทศ หน่วยงานสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ย่อมจะทำให้หน่วยงานเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูงขึ้น
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ สามารถนำผลการศึกษาของลูกค้าที่ใช้บริการของ กฟผ. มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของงานบริการและผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามระบบการประเมินผลของรัฐวิสาหกิจ State Enterprise Assessment Model (SE-AM) รายงานแผนวิสาหกิจ กฟผ. และปรับปรุงคุณภาพงานบริการอย่างต่อเนื่อง
โครงการนี้เป็นการศึกษาภาพในอนาคตแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคม (Social Foresight) ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท โดยศึกษาถึงปัจจัยและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสำคัญ (Mega-trend) ที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในระยะ 10 ปีข้างหน้า ในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และนโยบายภาครัฐ
โดยทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ควรยึดหลักดำเนินงาน 3 หลักการในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงสังคม คือ
1. พัฒนาแบบมุ่งเป้าหมาย
2. ส่งเสริมเชิงรุก
3. สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
จุดเด่นของโครงการ คือ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดชัยนาท ใช้เทคนิค STEEP เพื่อกวาดจับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ใน 5 ประเด็น คือ
1. มิติทางสังคม เปลี่ยนเป็นสถานที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Location)
2. มิติเทคโนโลยี เปลี่ยนเป็นการท่องเที่ยว (Tourism)
3. มิติทางเศรษฐกิจ (Economy)
4. มิติสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนเป็นทรัพยากรธรรมชาติ (Environmental Resource)
5. มิติการเมือง เปลี่ยนเป็นประชากร (Population)
โครงการติดตามประเมินโครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน)” ดำเนินการโดยคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณทิตพัฒนบริหารศาสตร์และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามประเมินผลของการดำเนินงานโครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน)” และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้ทราบประสิทธิผลและประสิทธิภาพการดำเนินโครงการดังกล่าว นำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาในระยะต่อไป รวมถึงข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีการจัดทำโครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน)” เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างครบวงจรและเป็นรูปธรรม ประชาชนสามารถส่งคืนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use plastics) 2 ประเภท คือ พลาสติกยืดและพลาสติกแข็ง ผ่านจุดรับคืน (Drop point) ตามสถานที่ต่างๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐทั้ง 20 กระทรวง
ผลการติดตามประเมินโครงการดังกล่าว โดยใช้ CIPP-I Model เพื่อประเมินใน 32 ตัวชี้วัด 5 มิติ ได้แก่
1) การประเมินบริบท
2) การประเมินปัจจัยนำเข้า
3) การประเมินกระบวนการ
4) การประเมินผลผลิต
5) การประเมินผลกระทบ
ร่วมกับการวิเคราะห์ SWOT Analysis พบว่ามิติบริบทผ่านเกณฑ์ประเมินในระดับสูงมากเพียงมิติเดียว ในมิติการประเมินอื่นๆ ผ่านเกณฑ์ประเมินในระดับสูงทั้งหมด
วัตถุประสงค์และแนวทางในการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว ยังสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังสอดรับกับแผนและเป้าหมายของ Roadmap การจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถสร้างความตระหนักและเสริมสร้างความรู้ในการคัดแยกขยะพลาสติกได้อีกด้วย เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ
โครงการนี้จึงได้เสนอแผนพัฒนาโครงการดังกล่าวระยะต่อไป โดยการนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เข้ามาใช้ในการพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
1) การพัฒนาโครงการระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2566) เพื่อปรับปรุงโครงการให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีผลสัมฤทธิ์เชิงยุทธศาสตร์
2) การพัฒนาโครงการระยะที่ 2 (พ.ศ. 2567-2570) มุ่งเน้นในเรื่องการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น รวมถึงนำแนวคิดการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) มาใช้
3) การพัฒนาโครงการระยะที่ 3 (พ.ศ. 2571 -2573) เป็นการส่งเสริมการดำเนินการเสริมอื่นๆ ที่จะช่วยให้การจัดการขยะพลาสติกครบวงจรมากยิ่งขึ้น
โครงการนี้เป็นการพัฒนาแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนาธุรกรรมดิจิทัลต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยแยกประเมินผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและผลกระทบทางสังคม ที่จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของธุรกรรมดิจิทัล ซึ่งเป็นกระแสของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
การประเมินผลกระทบต่างๆ ของธุรกรรมดิจิทัลทำให้เห็นถึงนัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่การติดต่อสื่อสาร (Communication Technology) ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีการประมวลผล (Computational Technology) จนสามารถทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพและการสร้างกิจกรรมใหม่ ที่เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทย
การศึกษานี้ทำให้เกิดข้อค้นพบสำคัญของธุรกรรมดิจิทัล ดังนี้
1. การพัฒนาของธุรกรรมดิจิทัลก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม
2. การพัฒนาของธุรกรรมดิจิทัลจะเกิดผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจได้ต้องขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้
3. การพัฒนาของธุรกรรมดิจิทัลประสบความสำเร็จในขั้นแรก เมื่อภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
4. การพัฒนาของธุรกรรมดิจิทัลทำให้เกิดการสร้างรูปแบบของการติดต่อสื่อสารและโทรคมนาคมใหม่ทดแทนรูปแบบของการสื่อสารเดิม
5. การพัฒนาของธุรกรรมดิจิทัลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยีระหว่างกลุ่มภาคธุรกิจเอกชนและระหว่างกลุ่มของประชากร
โครงการนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และพัฒนาแบบจำลองทางการเงินของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (กองทุน พก.) เพื่อศึกษา พัฒนา และปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการกองทุน พก. ให้สามารถขับเคลื่อนกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และส่งเสริมให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการได้อย่างทั่วถึง ตอบสนองความต้องการอย่างเป็นธรรม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการในสังคมให้ดีขึ้น
ผลที่ได้จากโครงการ คือ ได้จัดทำข้อสังเกตเชิงวิชาการที่สำคัญจากการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการปรับแนวคิดทางการบริหาร และกระบวนการทำงานของกองทุน พก. ในอนาคต
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และพัฒนาแบบจำลองทางการเงินของกองทุน พก. ช่วยให้สามารถประเมินและพยากรณ์แนวโน้มทางการเงินของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในอนาคตได้ โดยครอบคลุมทั้งการพยากรณ์แนวโน้มรายได้ของกองทุน พก. และการพยากรณ์แนวโน้มผลการดำเนินงานหรือค่าใช้จ่าย เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของรายได้กองทุน พก. ในปีนั้นๆ รวมถึงการระมัดระวังด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกองทุน พก. ที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย
โครงการนี้เป็นการดูแลรักษาและการปรับปรุงระบบ Bond Direct ในการซื้อขายและเข้าถึงข้อมูลการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล ผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน
ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการถือครองพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลได้ง่ายขึ้น สะดวกรวดเร็ว และมีระบบ Line เพื่อสอบถามข้อสงสัย
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ระบบ Bond Direct ช่วยให้ประชาชนสามารถซื้อขายและเข้าถึงข้อมูลการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล ผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
โครงการนี้เป็นการจ้างที่ปรึกษาเพื่อคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรับเงินรางวัลจูงใจเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากท้องถิ่น เนื่องจากมีหน้าที่หลักในการจัดบริการสาธารณะที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างแรงจูงใจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการยกระดับธรรมาภิบาล คุณภาพการจัดบริการสาธารณะ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านต่างๆ
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ ได้มีการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นเงินรางวัลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีตามกระบวนการและเกณฑ์มาตรฐานของคณะอนุกรรมการกำหนดไว้ซึ่งแบ่งรางวัลเป็น 3 ประเภท คือ
1. รางวัลการบริหารจัดการที่ดีประเภทดีเลิศ
2. รางวัลการบริหารจัดการที่ดีประเภทโดดเด่น
3. รางวัลการบริหารจัดการที่ดีประเภททั่วไป
โครงการนี้เป็นการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อการประปาส่วนภูมิภาค ประจำปี 2564 ทั้งในภาพรวมองค์กร กลุ่มตำแหน่ง และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าในความพึงพอใจ และความผูกพันที่พนักงานมีต่อหน่วยงานในด้านต่างๆ รวมถึงเพื่อให้การดำเนินการของ กปภ. ด้านความพึงพอใจและความผูกพันมีแนวทางสอดคล้องกับระบบประเมินผลตามหลักเกณฑ์ Enablers ด้านที่ 6 การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management : HCM)
โดยได้นำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ การบริหารองค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาและเป็นข้อเสนอแนะให้กับองค์กร ประกอบกับหน่วยงานที่ทำการศึกษาเป็นรัฐวิสาหกิจที่สำคัญของประเทศ หน่วยงานนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ย่อมจะทำให้หน่วยงานเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น อันส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ รวมถึงมีแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางของระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SEPA) และระบบประเมินผลตามหลักเกณฑ์ Enablers ด้านที่ 6 การบริหารทุนมนุษย์
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ ทำให้ได้รับทราบประเด็นความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความผูกพัน และภาพลักษณ์ของหน่วยงานในมุมมองของพนักงาน รวมถึงผลการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาและข้อเสนอแนะที่หน่วยงานควรที่จะปรับปรุง เพื่อให้พนักงานเกิดความพึงพอใจและความผูกพันกับหน่วยงานมากขึ้น อีกทั้ง ทำให้การดำเนินการของ กปภ. ในด้านความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน มีแนวทางสอดคล้องกับแนวทางระบบประเมินผลตามหลักเกณฑ์ Enablers ด้านที่ 6 การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management : HCM)
โครงการนี้เป็นการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านกิจการโทรทัศน์ของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร โดยคำนึงถึงความสอดคล้องในเชิงนโยบาย ทรัพยากร และผลลัพธ์ที่ได้
กสทช. มีกระบวนการการจัดทำแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล เพื่อรองรับการเรียกคืนคลื่นและการชดเชยให้ผู้ได้รับผลกระทบ และแจกแจงการนำรายได้จากการประมูลไปใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและแรงจูงใจ ส่วนเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจัดสรรเงิน เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ดิจิทัล ซึ่งมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์และวิธีการเป็นองค์กรกลาง แต่ยังไม่มีการตอบสนองจากองค์กรใดๆ กสทช. จึงควรจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกันอีกครั้ง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งองค์กรกลางโดยเร็ว
ข้อสรุปที่สำคัญของ คือ การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการโทรทัศน์ของ กสทช. ประจำปี พ.ศ. 2563 สามารถปฏิบัติงานตามแผนประจำปีครบถ้วน แต่เนื่องจากบริบทในยุคปัจจุบันมีความท้าทาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งจากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 และกิจการที่เรียกว่า “OTT” (Over the Top) ตลอดจนพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ ดังนั้น กสทช. จึงควรกำหนดแผนงานเพื่อรองรับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อย่างเร่งด่วน
โครงการนี้เป็นการสำรวจลักษณะความต้องการข้อมูลเรื่องโรคและภัยสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน โดยศึกษาจาก 6 โรคหลัก ได้แ้ก่
1. โรคโควิด-19
2. โรคไข้หวัดใหญ่
3. โรคที่เกิดจากฝุ่นละออง PM 2.5
4. โรคที่เกิดจากยุงลาย
5. โรคที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
6. โรคที่เกิดจากสารกำจัดศัตรูพืช
โดยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนในกลุ่มวัยทำงานทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 665 คน
ผลการวิจัยทำให้ทราบรูปแบบการบริโภคสื่อของกลุ่มประชากรวัยทำงาน ความต้องการ และความสนใจเรื่องโรคนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะให้แก่ สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในการออกแบบสื่อสาร และรูปแบบการใช้สื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อเรื่องโรคและภัยสุขภาพของประชากรวัยทำงานที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ กลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจต่อโรคและภัยสุขภาพในระดับสูง โดยโรคและภัยสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างประชาชนในกลุ่มวัยทำงานให้ความสนใจมากที่สุด คือ โรคโควิด-19 รองลงมา คือ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคที่เกิดจากฝุ่นละอองในอากาศ (PM 2.5) โรคที่เกิดจากยุงลาย โรคที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ และโรคที่เกิดจากสารกำจัดศัตรูพืช
จุดเด่นของโครงการ คือ การคำนวณการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน จากลูกหนี้การค้านั้น เดิมเคยอาศัยข้อมูลในอดีตและรอให้เกิดการด้อยค่าขึ้นจริงก่อน เช่น ลูกหนี้ค้างชำระเกินกำหนดเป็นเวลา 90 วัน จึงทำการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญ แต่ด้วยมาตรฐานใหม่ TFRS 9 กำหนดให้ต้องคำนวณการด้อยค่าโดยอาศัยทั้งข้อมูลในอดีต ข้อมูล ณ ปัจจุบัน และการคาดการณ์อนาคต จึงทำให้เป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายสำหรับบริษัทต่างๆ
ซึ่งการคำนวณการด้อยค่าของทรัพย์สินทางการเงินดังกล่าว แม้ว่าจะมีความซับซ้อนไม่มาก แต่เป็นเรื่องที่บริษัทเอกชนทั่วไป โดยเฉพาะที่ไม่ใช่สถาบันการเงินไม่มีความชำนาญ การบังคับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ในการลงบัญชีและตั้งค่าเผื่อหนี้สูญขององค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียสาธารณะ จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมและดำเนินการอย่างถูกต้องเหมาะสม
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ โครงการนี้ได้จัดทำโมเดลการคำนวณการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน จากลูกหนี้การค้า โดยใช้ข้อมูลลูกหนี้การค้าของบริษัทผู้ขอรับบริการ และข้อมูลคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจ โดยมีการคำนวณผลสูญเสียคาดหวังจากการด้อยค่าทางเครดิตด้วย Spreadsheet และส่งมอบให้ผู้รับบริการเพื่อดำเนินการลงบัญชีต่อไป
โครงการนี้เป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อปรับโครงสร้างและทรัพยากรบุคคลขององค์กร ในด้านการทำงาน นโยบาย และพื้นที่ดำเนินงาน ให้ทันสมัยและรองรับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคตของการศึกษา
การดำเนินงานมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดทิศทางความจำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างองค์กรและทรัพยากรบุคคล
2. นำผลการศึกษา วิจัย มารับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรทั่วประเทศ
3. นำผลที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นมาปรับปรุง เพื่อกำหนดโครงสร้างและปรับอัตรากำลังขององค์กร
4. นำเสนอผลสรุป เพื่ออนุมัติและนำไปปฏิบัติต่อไป
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ สำนักงานปลัดกระทรวง มีบทบาทสำคัญในการกำหนดการบริหาร เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจริง รวมทั้งการติดตามประเมินผลนโยบายการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงอาชีวศึกษา นอกจากนั้นยังได้ทำการวิเคราะห์ วิจัย เพื่อปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมทันสมัยพร้อมกับการจัดสรรอัตรากำลังบุคลากร เพื่อสนับสนุนให้สอดคล้องกับภารกิจและนโนบายของกระทรวง
ความน่าสนใจของโครงการนี้ คือ การมี Optimization under constrains ที่ต้องรักษาความเป็นสนามกอล์ฟแห่งแรกของประเทศ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านธุรกิจและด้านเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับกฎหมายผังเมืองและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของภาคใต้ตอนบนและวิสัยทัศน์การพัฒนาให้เป็น Thailand Riviera รวมทั้งยังช่วยให้ รฟท. ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้น 5 เท่า จากเดิม
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ คือ สนามกอล์ฟรถไฟหัวหินที่สถานีหัวหิน เป็นสนามกอล์ฟแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขันของนิด้า ร่วมให้คำปรึกษากับทาง รฟท. เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายผังเมืองและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้กลายเป็น Thailand Riviera หรือ การพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก
โครงการนี้เป็นการศึกษาการใช้สื่อดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนไทย ที่ส่งผลต่อทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ด้วยการเก็บข้อมูลจากทั้งเด็กและเยาวชน
ผู้ปกครอง และพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้นี้ไปปรับใช้ในการวางแผนพัฒนาสื่อ การใช้สื่อออนไลน์ เพื่อการสร้างสรรค์และกำหนดเป็นนโยบายในการวางแผนกลยุทธ์การดำเนินการขององค์กรที่จะช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยต่อไป
ผลการดำเนินโครงการ สามารถแบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่
1. การศึกษาสถานภาพการใช้สื่อ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา ทักษะที่จำเป็นและการเปิดเผยตนเองในสื่อออนไลน์
2. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการพัฒนาทักษะ เป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์และแบ่งปันเนื้อหาบนสื่อสังคมของเยาวชนไทยในมุมมองของผู้ปกครอง
3. การศึกษาผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์
4. การสำรวจความคิดเห็นประชาชน เป็นการสำรวจการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและสิ่งที่เยาวชนต้องการที่จะสื่อสารกับครอบครัว
5. การจัดเวทีสาธารณะ เพื่อสื่อสารสร้างความตระหนักและทิศทางในการพัฒนาสื่อดิจิทัล
จุดเด่นของโครงการ คือ การส่งเสริมให้วิสาหกิจนวัตกรรมรายใหม่ให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงและขยายตลาดไปสู่ระดับโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีเครือข่ายของกิจการขนาดใหญ่เข้ามาให้ความรู้และคำแนะนำที่จำเป็นเนื่องจากกิจการเหล่านี้มีเทคโนโลยี ความรู้ และเครือข่ายการค้าระดับโลก การส่งเสริมให้กิจการขนาดใหญ่เป็นพี่เลี้ยงทางธุรกิจแก่ธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ (Startup Innovative Business Brotherhood : SiBB) จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้วิสาหกิจนวัตกรรมรายใหม่มีโอกาสเติบโตและประสบความสำเร็จสูงขึ้น
โครงการจึงได้ทำการคัดเลือกทีมนักศึกษาและผู้ประกอบการที่นำเสนอ Business Idea ดำเนินการร่วมกับพี่เลี้ยงขนาดใหญ่ คือ บริษัท True Corporations และ Dell โดยจะพิจารณาจากระดับของความเกี่ยวข้องของ Business Idea ที่บริษัททั้งสองมีความสนใจและเป็นการต่อยอดของธุรกิจของทั้งสองบริษัท โดยมีทีมที่เข้าร่วมทั้งหมด 5 ทีม โดยจะได้รับการพัฒนาเป็นวิสาหกิจเริ่มต้นใหม่ที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนธุรกิจ
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ ทีมนักศึกษาและผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนธุรกิจผ่านการให้คำปรึกษาจากที่ปรึกษาและบริษัทพี่เลี้ยง มีจำนวนทีมนักศึกษาที่พัฒนาสินค้าต้นแบบและพัฒนาการขายได้จำนวน 2 ทีม และมีจำนวนทีมที่นักลงทุนสนใจในการร่วมทุนจำนวน 1 ทีม ร่วมทุนสำเร็จและได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้ารับทุนเป็นจำนวน 1.5 ล้านบาท จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โครงการนี้เป็นการจัดทำ Business Model เพื่อตอบคำถามสองคำถามที่สำคัญ คือ การหารายได้อย่างไรและมีต้นทุนเท่าไหร่ โดยเริ่มจากการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กำหนดสินค้าและบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย กำหนดราคาให้เหมาะสม รวมทั้งสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้าและบริการ ผ่านการทำ Promotion และการคำนึงถึง Customer Journey และ Pain Point ต่างๆ
การตอบคำถามดังกล่าวจะทำให้องค์กรสามารถกำหนดทิศทางและนโยบายธุรกิจ ภายใต้ Business Model ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ การจัดทำ Business Model ที่สามารถตอบคำถามข้างต้นได้ ทำให้องค์กรมีแผนธุรกิจที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเห็นผลจริง ช่วยลดต้นทุนในกระบวนการต่างๆ ให้ถูกลง ส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร อีกทั้งยังช่วยสร้างความยั่งยืนในระยะยาวให้กับองค์กร เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีแบบแผนและบรรลุเป้าหมายขององค์กร
โครงการนี้เป็นการดำเนินการผ่านกระบวนการคิดทบทวน ออกแบบความต้องการผลิตบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติทั้งในด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) รวมถึงการมีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
นับเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติ การคิดวิเคราะห์ และมีสมรรถนะในด้านการบริหารให้กับบุคลากร พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการ ให้สามารถบริหารงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจและอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
ผลที่ได้รับจากโครงการ ประกอบด้วย
1. พัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะของนักบริหารงานยุติธรรม
2. เสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบัน พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในยุควิถีใหม่
3. สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือของนักบริหารงานยุติธรรม
โครงการนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูล รูปแบบ เงื่อนไข กฎระเบียบ วิธีการกำหนดอัตรา Wheeling Charge ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จัดทำข้อเสนอแนะในการกำหนดเงื่อนไข กฎระเบียบ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพธุรกิจของ กฟน. ในปัจจุบันและอนาคต สำหรับใช้ในการเจรจากับผู้มีส่วนได้เสียจากธุรกิจของ กฟน. รวมถึงวิธีจัดการฐานข้อมูลและแบบจำลองการกำหนดอัตรา Wheeling Charge อัตราค่าบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงานของ กฟน.
รวมถึงการจัดทำอัตราค่าบริการของ Wheeling Charge ที่เกี่ยวข้องกับ Third Parties Access (TPA) ที่เหมาะสมกับ กฟน. ในกรณีผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และกรณีผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลซึ่งผลิตไฟฟ้าและขายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าของตนเองในพื้นที่การจ่ายไฟฟ้าของ กฟน. โดยจ่ายไฟฟ้าผ่านระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. วิเคราะห์ผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของ กฟน. เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ปัญหาและอุปสรรคทั้งด้านเทคนิคและที่ไม่ใช่เทคนิคที่เกิดจากการกำหนดอัตราค่าบริการผ่านสายจำหน่ายในแต่ละวิธี
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การส่งไฟฟ้าของ prosumer ผ่านระบบจำหน่ายของ กฟน. ไปให้ผู้ใช้ไฟฟ้าคู่สัญญาทำให้ กฟน. มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมของโครงข่ายจำหน่าย เพื่อรองรับการส่งไฟฟ้าของ prosumer เนื่องจากการส่งไฟฟ้าของ prosumer ผ่านโครงข่ายจำหน่ายของ กฟน. ไปถึงยังผู้ใช้ไฟฟ้าคู่สัญญา ทำให้รายได้ในการจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟผ. ลดลงจึงจำเป็นต้องกำหนดอัตราค่าผ่านสายที่มีความเสมอภาคและเป็นธรรมสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
โครงการนี้เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดยเริ่มศึกษาในช่วงของการระบาด ซึ่งการท่องเที่ยวเป็นสาขาที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยการประมาณการและพยากรณ์ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ต่อรายได้และการจ้างงาน จากการที่จำนวนผู้เยี่ยมเยือนในแต่ละจังหวัดลดลง ย่อมเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดที่ศึกษาถึงการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งจะช่วยให้จังหวัดใกล้เคียงเห็นแนวโน้มสถานการณ์และระยะเวลาการฟื้นตัว
ในการศึกษาสามารถนำเครื่องมือ Tourism Satellite Account (TSA) และ Leontief model มาประยุกต์ใช้ในการคำนวณผลกระทบจากการลดลงของผู้เยี่ยมเยือนในแต่ละจังหวัดและการจ้างงานในภาคบริการ
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ทำให้รับรู้ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในสภาวการณ์การระบาดของโควิด-19 ดังนี้
1. ความรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 มีผลกระทบต่อการหดตัวทางเศรษฐกิจ
2. มาตรการจากทางภาครัฐที่ออกมาเพื่อระงับการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยและหาเช้ากินค่ำขาดเงินทุนในการดำรงชีวิต
3. จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 คือ จังหวัดที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว เนื่องจากมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนลดลง
4. มาตรการของไทยที่เป็นอุปสรรคทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวของทุกจังหวัดลดลงมาก อาทิ มาตรการการกักตัว 14 วัน มาตรการการประกาศลดเที่ยวบิน
จุดเด่นของโครงการ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นเกี่ยวกับ e-Transactions, e-Commerce ที่กำลังอยู่ในกระแสความสนใจของสังคม นำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะความชำนาญในการจัดทำข้อมูลสถิติการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ตามหลักวิชาการทางสถิติ รวมถึงนำเอาข้อมูลดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สามารถนำข้อมูลไปใช้สนับสนุนในการกำหนดนโยบายและวางแผนยุทธศาสตร์ด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในมิติด้านการส่งเสริมและการกำกับดูแลภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเตรียมความพร้อมภาคประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ การขับเคลื่อนภาระงานด้านการพัฒนาความเป็นดิจิทัลให้กับภาครัฐ เพื่อบรรลุผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเชิงวิชาการ การรวบรวมองค์ความรู้ และการมีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางออนไลน์ เพื่อที่จะจัดทำข้อมูลสถิติการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดประโยชน์พร้อมทั้งวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอแนะในมิติต่าง ๆ ให้เท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
โครงการนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการให้บริการของรัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลแบบเปิด ส่งเสริมการบริหารงานภาครัฐให้มีศักยภาพและเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในศตวรรษที่ 21 ทั้งด้านโอกาสและความท้าทาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ให้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560-2564) และนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) รวมทั้งสอดรับกับเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs)
นำบทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะที่ได้ต่อการสร้างรัฐบาลแบบเปิดมาวิเคราะห์สภาวการณ์ พร้อมสร้างการรับรู้ของภาคประชาชนเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐผ่านสื่อสาธารณะ สื่อออนไลน์ และสื่อสังคม ด้วยรูปแบบของการนำเสนอผ่าน Story Video โดยการนำข้าราชการในหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาทำการออกแบบการเปิดเผยข้อมูลด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ ทีมงานวิจัยได้นำข้อเสนอแนะมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ พร้อมกับการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของภาครัฐ เพื่อมาจัดทำเนื้อหาวิดีโอสร้างการรับรู้ต่อการสร้างรัฐบาลแบบเปิดรวมทั้งจัดทำสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกับข้าราชการในหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนออกแบบการเปิดเผยข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานของภาครัฐ ในการสร้างรัฐบาลแบบเปิดให้เกิดขึ้นในประเทศสร้างการรับรู้ต่อการสร้างรัฐบาลแบบเปิดและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาชนกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อการพัฒนาไปสู่รัฐบาลแบบเปิด
โครงการนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการกับเศษโลหะตลอดห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการรีไซเคิลเศษโลหะ เพื่อร่างกรอบนโยบายและแนวทางด้านเทคนิค (BAT/BEP) ช่วยในการลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) โดยการรีไซเคิลเศษโลหะที่เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญ
ผลการสำรวจได้ถูกจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปต่อยอดเพื่อวางแผนหรือเป็นแนวทางปฏิบัติ ในการลดปริมาณการปลดปล่อยสาร U-POPs
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ นักวิจัย องค์กรเอกชน และประชาชนที่สนใจ มีความตื่นตัวและตระหนักรู้ถึงปัญหาต่อการกำเนิดขึ้นของสาร U-POPs และร่วมกันช่วยลดการปล่อยสารมลพิษดังกล่าว
โครงการนี้เป็นการวางแผนและออกแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลให้เป็นแบบดิจิทัล จากเดิมที่มีแค่เแบบกระดาษเพียงเท่านั้น
ส่งผลให้เกิดแนวทางการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม จากการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องของต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้เป็นประเภทและรูปแบบที่เหมาะสมกับประชาชนและประเทศไทยมากที่สุด
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ โครงการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบดิจิทัล ประกอบไปด้วยการศึกษา 5 ด้าน ได้แก่
1. ด้านผลิตภัณฑ์ ศึกษา วิเคราะห์ และทบทวน ประเภทและรูปแบบของสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบดิจิทัล
2. ด้านกฎหมาย ศึกษาและวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบดิจิทัล
3. ด้านสังคม ศึกษาถึงผลกระทบทางสังคม แนวทางแก้ไข หรือมาตรการการลดผลกระทบในการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบดิจิทัล
4. ด้านระบบคอมพิวเตอร์ ศึกษาและออกแบบระบบเทคโนโลยีดิจิทัลระบบเกมสลากแบบดิจิทัลและจัดทำร่างขอบเขตของงาน
5. ด้านความคุ้มค่าของการลงทุน ศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมและความคุ้มค่าของรวมถึงข้อดีข้อเสียของการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบดิจิทัล
ความน่าสนใจของโครงการนี้ มาจากการที่โฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์นั้น เป็นเครื่องมือทางสื่อสารการตลาดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นเครื่องมือที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารของแบรนด์ เพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ผลิต และเพิ่มความสมจริงในการใช้สินค้าและบริการ อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณและรูปแบบการโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ ส่งผลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงประเด็นเรื่องการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมและผลกระทบของการโฆษณาแฝง
โดยพบว่าปัญหาของการโฆษณาแฝงเกิดมาจากการขาดจริยธรรมของผู้ผลิตรวมถึงการขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน โดยปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะด้านที่ใช้สำหรับการกำกับดูแลการโฆษณาแฝง ดังนั้นการมีแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแลโฆษณาแฝงที่เหมาะสม จะช่วยเป็นคู่มือในการทำงานของผู้ผลิตโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์
ผลที่ได้รับจากการศึกษา คือ ทำให้ได้องค์ความรู้เชิงวิชาการในแง่ของกฎหมายเปรียบเทียบ ได้คู่มือการทำงานของผู้ผลิตโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ เพื่อสามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพต่อไป และได้แนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแลโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ที่คำนึงถึงหลักการสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. การคุ้มครองการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะและการคุ้มครองผู้บริโภคจากการประกอบกิจการโทรทัศน์
2. การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการสื่อสาร การประกอบธุรกิจการค้า การแข่งขันที่เป็นธรรมของผู้ประกอบอาชีพและวิชาชีพผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และการโฆษณาส่งเสริมการตลาด
3. การส่งเสริมการกำกับดูแลตนเองของนักวิชาชีพภายใต้กรอบจริยธรรมวิชาชีพผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และการโฆษณาส่งเสริมการตลาด
โครงการนี้เป็นการศึกษาถึงแหล่งที่มาและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 29 ด้วยการวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรีหรือการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีของไทยกับต่างประเทศ
ผลการศึกษาทำให้เกิดเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรีและการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีที่เหมาะสมกับระบอบการเมืองการปกครองของประเทศไทย และทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ เมื่อมียุทธศาสตร์ชาติตามที่กำหนดไว้ ย่อมมีผลผูกพันต่อฝ่ายการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 บัญญัติไว้ ดังนั้นยุทธศาสตร์ชาติจึงมิใช่เป็นเพียงแนวนโยบายแห่งรัฐทั่วไปตามที่กำหนด หากแต่เป็นแนวนโยบายแห่งรัฐและมีลักษณะเฉพาะ ที่มีผลผูกพันกับฝ่ายการเมืองทั้งหลาย (รัฐบาลและรัฐสภา) ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำหนดให้มีผลผูกพันต่อฝ่ายการเมืองและองค์กรตรวจสอบการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่สามารถตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญได้
โครงการนี้เป็นจัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์และประเมินแผนการรักษาความสงบภายในประเทศ ในด้านความเหมาะสม ความสอดคล้อง และการตอบสนองต่อความต้องการของสภาพปัญหา สถานการณ์ปัจจุบัน และเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญของยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงต่อไป
สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนารูปแบบและการดำเนินงานของแผนดังกล่าว ให้สามารถรองรับกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดแนวทาง เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ การศึกษาแนวทางหรือรูปแบบการประเมินที่เหมาะสม จะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการบรรลุผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายของแผนการรักษาความสงบภายในประเทศ ซึ่งจะสามารถนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงแนวทางและวิธีปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและผลการประเมินนี้ยังสามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดและเชื่อมโยงมาตรการการทำงานตามนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไปได้
โครงการนี้เป็นการพิจารณาถึงความเหมาะสมสำหรับการประกาศคุ้งบางกะเจ้าให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษคุ้งบางกะเจ้าในระยะ 6 ปี ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ตั้งแต่ (พ.ศ. 2560-2564) Sustainable Development Goals หรือ SDG แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวและบูรณาการกับแผนพัฒนาส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและท้องถิ่น รวมถึงมีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า
สามารถนำผลการศึกษาและแผนขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษคุ้งบางกะเจ้าที่ได้ มานำเสนอต่อคณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (พพท.) เพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบเป็นลำดับต่อไป
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ นำผลการศึกษามาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่พิเศษคุ้งบางกะเจ้าที่ปัจจุบันเริ่มมีความเสื่อมสภาพจากวิถีชีวิตและกิจกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงความสำคัญของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ตามแนวทางของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติของไทย นำมาประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
โครงการนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นผลการดำเนินงานและการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลเรื่องผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงพัฒนาการจัดสรรงบประมาณด้านผู้สูงอายุให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และเพื่อเตรียมพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
การติดตามการประเมินผลนโยบายของรัฐบาล ในการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลากหลายภาคส่วน อาทิเช่น
1. สำนักงบประมาณและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
2. รัฐบาลสามารถนำข้อเสนอแนะไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและปรับปรุงการดำเนินงานได้
3. นักวิชาการหรือผู้ที่สนใจ ซึ่งผลการดำเนินงานจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
ผลที่ได้รับจากโครงการ พบว่า การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุส่วนใหญ่บรรลุตามเป้าหมาย แต่ยังมีปัญหาในกระบวนการและโครงสร้างการดำเนินงาน ผลกระทบที่ยังไม่ชัดเจนและปัญหาในระดับพื้นที่โดยเฉพาะการนำนโยบายไปปฏิบัติ ทั้งนี้ยังได้ทำการเปรียบเทียบแนวทางการบริหารเกี่ยวกับผู้สูงอายุของไทยกับต่างประเทศ ทำให้รู้จุดเด่น จุดด้อย และจุดที่ควรปรับปรุงทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ
ความสำคัญของโครงการนี้ คือ การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบการมีส่วนร่วม ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และเพื่อค้นหารูปแบบที่เหมาะสมที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มนักเรียนดังกล่าวที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไปตามภูมิสังคม (ในแต่ละภูมิภาค) ให้มีทัศนคติที่ดีต่อประชาธิปไตยได้
รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านงานวิชาการและการกำหนดแนวทางส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเด็กและเยาวชนให้ตรงกับความต้องการและสภาพการณ์ตามความเป็นจริงของสังคม และจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ ในการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจที่เกี่ยวข้องดังกล่าวให้บรรลุผลสำเร็จ
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ เป็นการเสริมสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่จัดทำขึ้นโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมตามบริบท ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กและเยาวชนให้สามารถเข้าถึง เข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
ครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นการทำงานของคณะรัฐบาลที่มุ่งแก้ปัญหาสำคัญ 10 ด้าน ที่ประชาชนทั่วไปประสบอยู่ โดยใช้กลไกของภาครัฐในส่วนภูมิภาคและท้องที่ ผ่านการบูรณาการและปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาปัญหาในหลาย ๆ ด้านของหมู่บ้านและตำบลหนึ่ง ๆ ไปพร้อมกัน
การจัดทำโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จในการปฏิบัติงาน (Best Practice) และเป็นความคิดริเริ่มของคนในแต่ละชุมชน ในทุกภูมิภาคของประเทศและทุกประเภทของโครงการแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสามารถนำไปใช้เป็นกรณีศึกษาได้
ผลได้รับจากโครงการ คือ ประชาชนได้มีส่วนร่วมไปกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. รับรู้การดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน
2. มีความเข้าใจการดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน
3. มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกทำโครงการต่าง ๆ ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน
4. ได้รับผลประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน
5. มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน
6. มีความรู้สึกผูกพันและเป็นเจ้าของโครงการที่ร่วมกันดำเนินงาน
โครงการนี้ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ คือ ผลลัพธ์จากการศึกษาภาพอนาคตที่คนสตูลต้องการให้จังหวัดสตูลเป็นพื้นที่แห่งความสุข ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพหมุนเวียนสีเขียว (BCG Economy) มองภาพในอนาคตไว้เป็น “สุขสตูล พ.ศ. 2573” ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนา5 ด้าน ได้แก่
1. เศรษฐกิจก้าวหน้าควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ (Green Economy)
2. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงนิเวศ (Eco and Wellness Tourism)
3. คนสตูลสมาร์ทและสามัคคี
4. ผู้นำคุณธรรมสูง
5. เน้นการพัฒนาด้วยนวัตกรรมทั้งทางสังคมและด้านกายภาพ
จากภาพอนาคตและยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้ง 5 ทำให้เกิดข้อเสนอแนะและนโยบาย ให้ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมนโยบายการพัฒนาจังหวัด การท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน การรักษามรดกกายภาพและวิถีชีวิตวัฒนธรรมเดิมแท้ ทั้งอุทยานธรณีโลกสตูล (Satun Geopark) การขับเคลื่อนนวัตกรรมพลังงานสะอาดและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เป็นจุดเด่นในการท่องเที่ยวของจังหวัด
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดให้สมบูรณ์ตามภาพอนาคตที่ตั้งไว้ “สุขสตูล พ.ศ. 2573” จำเป็นต้องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดทั้ง 5 ด้านด้วยนวัตกรรมทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่สอดรับกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จุดเด่นของโครงการ คือ การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นและสามารถนำมาสร้างเสริมให้คนในยุคปัจจุบันใช้เพื่อปรับตัวเข้ากับกระแสใหม่ของสังคมโลก
แบบประเมินยังนำมาใช้เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ การสร้างเสริมกิจกรรมด้านต่าง ๆ ในสถาบันการศึกษาว่าจะสามารถผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการในโลกของแรงงาน และสังคมในยุคปัจจุบันได้หรือไม่ และทำได้ดีเพียงใด
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ แบบประเมินทักษะใหม่ห้าด้าน เป็นแบบทดสอบที่ใช้เพื่อประเมิน และสร้างเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับคนยุคใหม่ ให้ปรับตัวเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ มีวิธีคิดที่จำเป็นต้องมองให้รอบด้าน ปรับเปลี่ยนมุมมองแบบเดิม ๆ และสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็น สำหรับรายบุคคลหรือกลุ่มผู้เรียนได้
จุดเด่นของโครงการ คือ การนำแนวคิด หลักการ วิธีการในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ของ “เครือข่ายภาคประชาชน” ไปเป็นกลไกในการติดตาม ประเมิน ตรวจสอบการดำเนินงานของสื่อด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่กระจายตามท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด้วยการใช้บริบทของเครือข่ายความร่วมมือจากทรัพยากรบุคคลในแต่ละท้องถิ่น/พื้นที่อย่างเป็นระบบและคำนึงถึงผลประโยชน์และสิทธิของประชาชนผู้รับสื่อเป็นสำคัญ
ความสำเร็จของ “เครือข่ายภาคประชาชน” ทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
1. มีกลไกที่ใกล้ชิด ในการคุ้มครองสิทธิ และผลประโยชน์ของผู้บริโภคต่อกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์เพื่อเสริมและประสานงานกับองค์กร/หน่วยงานราชการที่อาจกำกับดูแลไม่ทั่วถึง
2. มีการใช้เครือข่ายที่ประกอบด้วยทรัพยากรบุคคลจากฝ่ายต่าง ๆ เช่น นักวิชาการ อาสาสมัคร และประชาชนทั่วไปมาร่วมกันดำเนินการโดย กสทช. สนับสนุนการจัดกิจกรรมตามภูมิภาคและพื้นที่/ท้องถิ่นต่าง ๆ กระจายไปอย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการประสานงาน การแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจในงาน และเพิ่มพูนประสบการณ์
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ แบ่งออกเป็น
1. การสร้าง การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการเฝ้าระวัง เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนโยบายและแผนการของสำนักงาน กสทช. ที่กำหนดไว้
2. ผลของการดำเนินงานตามแนวคิดหลักการการใช้เครือข่ายการเฝ้าระวัง และติดตามการดำเนินงานในกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามกฎหมายนโยบายและแผนการดำเนินงานของ กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จุดเด่นของโครงการ คือ การค้นหาประเด็นสำคัญที่จำเป็นสำหรับโครงสร้างและกระบวนการในการดำเนินงานตามมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเพื่อเสนอแนวทางในการจัดการโครงสร้างและกระบวนการที่จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนารูปแบบและการดำเนินงานของแผนดังกล่าวให้สามารถรองรับกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือสร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่เกี่ยวกับสถานะของสำนักงาน ป.ป.ส. และการพัฒนาความรู้ ทักษะ ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สามารถกำหนดแนวทางการดำเนินงานของทั้ง ป.ป.ส. และหน่วยงานภาคีในพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหาและบริบทต่าง ๆ ของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการนี้เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยให้มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับพระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศประกอบกับการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของทุนหมุนเวียนของกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย รวมถึงเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2563 และผ่านเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน
มีการนำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนงานและประเมินผล นำไปประยุกต์ใช้กับผลการศึกษา ทำให้สามารถนำเสนอเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานและการบริหารจัดการขององค์กรไห้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้น รวมทั้งผลประเมินกองทุนฯ ในปี 2563 มีผลการประเมินสูงขึ้นจากปี 2562
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ กองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำเอาผลที่ได้จากการศึกษาไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อสร้างแนวทางในการบริหารงานพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพของกองทุนฯในฐานะหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของไทยได้ในหลากหลายมิติ อีกทั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่มีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป
โครงการนี้เป็นการสำรวจความพึงพอใจทั้งในส่วนของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กฟผ. เนื่องจากโครงสร้างของอุตสาหกรรมไฟฟ้าในประเทศไทย มีความท้าทายในการกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่ ซึ่งโครงการนี้มีการประยุกต์ใช้ความคิดเห็นจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้จ่ายไฟสะท้อนกลับมาแทน
ตัวดัชนีชี้วัดต่าง ๆ ที่ใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบให้สามารถสะท้อนถึงความเหมาะสมของระดับความพึงพอใจได้นั้น ก็ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง โดยจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการชี้วัดเนื่องจากลักษณะของอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ขายรายเดียว
ผลการศึกษาที่ได้รับจะเป็นประโยชน์ให้หน่วยงาน กฟผ. ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานและนำไปสู่การปรับปรุง พัฒนาการดำเนินการต่อไป เมื่อเปรียบเทียบค่าความคาดหวังและค่าความพึงพอใจ พบว่า ค่าดังกล่าวค่อนข้างคงที่และปรับลดลงเล็กน้อย โดยจากการทำการสัมภาษณ์กลุ่มยังพบอีกว่า กฟผ. นั้นยังมีประเด็นที่จะต้องพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต
โครงการนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบเช่าซื้อ โดยการใช้ Robot Process Automation, Machine Learning and Artificial Intelligence
เพื่อช่วยในการลดต้นทุนการจัดการและสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่สำหรับธุรกิจเช่าซื้อ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป องค์กรจึงต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การทำวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบเช่าซื้อในครั้งนี้ สามารถช่วยลดต้นทุนโดยการใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้นและสร้างโอกาสให้กับธุรกิจใหม่ ๆ ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม สำหรับธุรกิจเช่าซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของโครงการนี้ คือ การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับ World Class ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้เกิดความผูกพัน เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยสามารถดึงดูด รักษา พัฒนาบุคลากรที่เป็นคนเก่ง มีความสามารถสูงให้คงอยู่กับองค์กร
สามารถนำผลการศึกษาของโครงการไปใช้เป็นตัวอย่างให้กับมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่ต้องการพัฒนาองค์กรของตนไปสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงหรือเป็นมหาวิทยาลัยระดับ World Class มีระบบการบริหารและงานด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ มหาวิทยาลัยสามารถสร้างความผูกพันให้กับบุคลากรได้เป็นอย่างดี มีเพียงผลการศึกษาที่สะท้อนการบริหารบางวิทยาเขตที่อาจจะต้องเร่งพัฒนาปัจจัยความผูกพันของบุคลากรบางเรื่องที่เป็น Key Driver ที่ตัวบุคลากรประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น
จุดเด่นของโครงการ คือ ผลการวิจัยสามารถพัฒนาเป็นองค์ความรู้ในการป้องกันแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมดำเนินการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาการกระทำผิดซ้ำได้อย่างยั่งยืน
โดยผลการประเมินโปรแกรมการแก้ไข บำบัด และฟื้นฟู ผู้กระทำความผิด จะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อหน่วยงานด้านการพัฒนาพฤตินิสัยของกรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ และกรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ในการนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลต่อการลดอัตราการกระทำผิดซ้ำ ภายหลังการกลับคืนสู่สังคมได้
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การค้นพบเกี่ยวกับโปรแกรมการแก้ไข บำบัด และฟื้นฟู ผู้กระทำผิดของหน่วยงานพฤตินิสัยของประเทศไทยในปัจจุบัน มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อกระทรวงยุติธรรม ในการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางหรือมาตรการป้องกันปัญหาการกระทำผิดซ้ำได้อย่างทันท่วงที และสามารถควบคุม ชะลอ ยับยั้ง ไม่ให้เกิดการขยายวงกว้างต่อไปได้ในอนาคต
ความน่าสนใจของโครงการ คือ การสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับชาติและนำมาปฏิบัติให้สัมฤทธิผล ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี นวัตกรรมทางสังคม หรือนวัตกรรมทางความคิด ดำเนินโครงการภายใต้ความท้าทายที่จะสร้างให้ผู้นำในภาครัฐและเอกชน มีแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมควบคู่ไปกับการปิดช่องว่างและสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐและเอกชน
เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ในรูปแบบของโครงการนำร่องและต้นแบบ ประกอบด้วย
โครงการ Health Emergency Loading of Patient Life
โครงการ R&D Propulsion
โครงการ R.U. Novation
โครงการ Power Game Changer
โครงการ Thai DNA 5.0 : Thai COP DNA
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ การพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำนวัตกรรมจากหลากหลายภาคส่วน การเรียนรู้จากนโยบายที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม พัฒนากระบวนการออกแบบนโยบาย การคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง การวิเคราะห์ภาพในอนาคตที่จะเป็นไปได้ การสร้างทางเลือกเชิงนโยบายสำหรับในอนาคตระบบนิเวศของนวัตกรรม การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและปัญหาในเชิงลึกของการกำหนดนโยบาย การคัดเลือกนโยบาย การสื่อสารนโยบายและการต่อรอง พร้อมทั้งการยกระดับสังคมด้วยนวัตกรรมและสามารถสร้างความยั่งยืนได้ในที่สุด
โครงการนี้เป็นการที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของพนักงานการประปานครหลวง โดยมีวิทยากรให้ความรู้และความเข้าใจ เน้นการมีส่วนร่วม การปูพื้นฐาน สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ กระบวนการและวิธีการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสในการคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น และระดมสมอง ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ สามารถนำไปต่อยอดต่อไปได้
การดำเนินโครงการพัฒนาพนักงานระดับ 5 กลุ่มวิชาชีพหลัก กลุ่มวิชาชีพสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2564 เป็นการให้ความรู้ที่ทันสมัยแก่บุคลากรของการประปานครหลวง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งของการประปานครหลวง สามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติต่อไป
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ เป็นโครงการที่มุ่งการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ตามสมรรถนะหลักของการประปานครหลวงในด้านความคิดแบบธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ความยืดหยุ่น และปรับเปลี่ยนได้ ความเป็นเลิศในการให้บริการลูกค้า การมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่เพื่อความเป็นเลิศ การเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
การดำเนินงานเพื่อมุ่งถึงประโยชน์ขององค์กร ในการขับเคลื่อนความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์การบริหารงานของการประปานครหลวง โดยมุ่งเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และผลสัมฤทธิ์กับประชาชน
โครงการนี้เป็นการศึกษากระบวนการการทำงาน และการประสานงานกันของหน่วยงานต่าง ๆ ใน สสส. เพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในองค์การ รวมทั้งได้ดำเนินการติดตามประเมินการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล ปี 2563 ให้แก่ สสส. ควบคู่ไปด้วย
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การศึกษาประเมินการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลของ สสส. สามารถนำข้อสังเกตและประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษามาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานด้านธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ส่วนของการทำความเข้าใจหลักการบริการจัดการที่ดีอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งนำปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ สสส. ประสบ มาใช้ในการทำความเข้าใจกระบวนการยกระดับและการประเมินการบริหารจัดการที่ดีในสถาบันอุดมศึกษาต่อไป
จุดเด่นของโครงการนี้เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการหรือการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของสำนักงาน ปปง.
ทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ได้รับการนำไปประยุกต์ใช้กับผลการศึกษา ทำให้สามารถนำเสนอเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรตามแผนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ คือ สำนักงาน ปปง. สามารถนำผลการประเมิน ผลการปฏิบัติงานแผนงาน/โครงการ หรือผลการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ พร้อมกับข้อเสนอแนะ นำไปกำหนดเป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานของสำนักงาน ปปง. ในอนาคตได้
โครงการนี้เป็นกระบวนการพัฒนา Talent ในภาครัฐ ภายใต้สถานการณ์ไม่ปกติ (COVID-19) โดยการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมในภาครัฐที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไปประยุกต์ใช้ ได้แก่
- โครงการไทยการันตี
- โครงการ Tree to Tango
- โครงการ One Smart MOB
- โครงการเก๋าแก่
- โครงการรัฐฟังฉัน
- โครงการขอแรงเธอหน่อย
- โครงการอะ(ไม่) “โศก” @ อโศกมนตรี
- โครงการที่จอดรถอัจฉริยะสำหรับการแบ่งปันทางสังคม
- โครงการดีกันนะ
- โครงการคืน Mask ส่งรักพักโลก
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบการบริหารงานราชการภายใต้บริบทของฐานวิถีชีวิตใหม่ ภาครัฐต้องให้ความสำคัญทั้งการพัฒนาตัวระบบและทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากหน่วยงานและข้าราชการเป็นหนึ่งในแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านการใช้เครื่องมือหรือระบบรูปแบบใหม่ อาทิ เทคโนโลยี ระบบดิจิทัล และการทำงานแบบยืดหยุ่น (Agility) สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง รวมถึงสามารถตอบสนองหรือรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงในอนาคตได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การพัฒนาข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance and Potential System - HiPPS) จำเป็นต้องมุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาและการเรียนรู้ในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้าราชการได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ อันจะส่งผลให้สามารถเติบโตเป็นข้าราชการระดับสูงได้อย่างมีคุณภาพ
โครงการนี้เป็นการทำวิจัยและการทำกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการทำกิจกรรมอบรม ดูงาน ผลิตสื่อ การประชาสัมพันธ์ การวิจัย เป็นการทำการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้บริการออนไลน์ของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์และนำไปต่อยอดในการปรับบริการได้
ส่งผลให้ข้าราชการและบุคลากรของภาครัฐเกิดจิตสำนึกในการต่อต้านคอร์รัปชัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้นำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงการให้บริการออนไลน์ของหน่วยงานรัฐต่อไปเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความโปร่งใสและลดโอกาสการเกิดคอร์รัปชัน
ผลที่ได้รับจากโครงการสามารถแบ่งออกเป็นประเด็นได้ ดังนี้ 1. การรับรู้เกี่ยวกับการให้บริการออนไลน์ (e-service) ของหน่วยงานราชการ พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ทราบว่าหน่วยงานราชการมีการให้บริการในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้บริการด้านสาธารณูปโภค เช่น จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นหลัก 2. ความพึงพอใจต่อการให้บริการออนไลน์ (e-service) ของหน่วยงานราชการ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจการให้บริการออนไลน์ ช่วยในการลดความเสี่ยงจากการเดินทาง/ลดความแออัดจากการใช้บริการในสถานการณ์โควิด-19 3. ความคิดเห็นต่อการให้บริการออนไลน์ (e-service) ของหน่วยงานราชการ ผู้ใช้บริการเห็นว่าหน่วยงานราชการทุกหน่วยงาน ควรปรับให้เป็นการบริการออนไลน์ เพื่อลดภาระงานและเกิดความสะดวกรวดเร็ว แต่ยังต้องแก้ไขในส่วนของความล่าช้าในการเข้าถึงข้อมูล และความเสถียรของระบบการให้บริการ
โครงการนี้เป็นการประยุกต์หลักการวางแผนการเงินโครงการ PPP (Public Private Partnership) มีทางเลือกในการพัฒนามากขึ้น และนำมิติต่าง ๆ เข้ามาช่วยทำให้โครงการเกิดมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
โครงการ PPP (Public Private Partnership) ช่วยให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตอบสนองกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับแนวคิด Green and Smart City ที่มีความโดดเด่นสามารถนำไปปรับใช้กับโครงการเมกกะโปรเจกจริง ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งด้าน Financial Return and Non-Financial Return
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาพื้นที่สนามกอล์ฟที่ขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทำให้เกิดตัวอย่างจริงในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในรูปแบบ TOD (Transit Oriented Development) และประยุกต์หลักการวางแผนการเงินโครงการ (Project Finance) ช่วยให้โครงการ PPP (Public Private Partnership) มีทางเลือกในการพัฒนา โดยนำมิติต่าง ๆ เข้ามาช่วยทำให้โครงการเกิดมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม และนำแนวคิด Green and Smart City ที่มีความโดดเด่น ไปปรับใช้ร่วมกันกับโครงการเมกะโปรเจกต์ของจริง ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งด้าน Financial Return and Non-Financial Return ให้กับโครงการ
โครงการนี้เป็นการจัดทำต้นแบบสำหรับดัชนีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย (Thailand Creativity Index) สำหรับเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยมีการรวบรวมข้อมูลและคำนวณดัชนี ซึ่งทำให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) และประเทศไทยสามารถติดตามตรวจสอบสถานะเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศโดยภาพรวมได้อย่างต่อเนื่อง สามารถนำไปเป็นเครื่องมือประกอบในการพัฒนานโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย
ประเทศไทยมีดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับประเทศที่เปรียบเทียบกับนานาชาติ และดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ลงลึกของประเทศไทยในมิติต่าง ๆ เช่น ผลผลิตด้านสร้างสรรค์ การส่งออกและนำเข้าสินค้าสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ และบุคลากรสร้างสรรค์ ซึ่งทำให้ภาครัฐมีแนวทางในการจัดการข้อมูลและนำไปพัฒนานโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การจัดทำดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ ปี 2020 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนในปี 2019 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 33 เท่าเดิม โดยช่องว่าง (Gap) ระหว่างประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ที่ได้อันดับที่ 1 จะพบว่า ประเทศไทยมีคะแนนน้อยกว่าเกาหลีใต้ในทั้ง 3 เสาดัชนี คือ ผลงานสร้างสรรค์ของประเทศ ปัจจัยนำเข้าด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และปัจจัยเชิงสถาบันและระบบนิเวศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์แต่ในภาพรวมนั้น ประเทศไทยยังมีจุดแข็งในเรื่องของปัจจัยเชิงสถาบันและระบบนิเวศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และผลงานสร้างสรรค์ของประเทศ
โครงการนี้เป็นการพัฒนาหลักเกณฑ์และข้อพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานของผู้พ้นโทษของกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม โดยสามารถพิจารณาจากการจ้างงานที่ผู้พ้นโทษต้องการและความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมในการจ้างงานผู้พ้นโทษรวมถึงการเปิดโอกาสในการประกอบอาชีพของผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษ โดยผ่านองค์กรที่มีความมุ่งมั่นในการประกอบธุรกิจ มีความเข้าใจและพร้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้กลับคืนสู่สังคมมีโอกาสในการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งช่วยลดปัญหาการกระทำผิดซ้ำ
โดยถือเป็นการริเริ่มกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมที่มีความสนใจในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษ ซึ่งการเกิดกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมที่เข้ามาร่วมกับหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัย จิตใจ และอาชีพ จะทำให้การดำเนินการเพื่อพัฒนาและช่วยเหลือผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษ ได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และเป็นแบ่งเบาภาระของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการปรับพัฒนาพฤตินิสัย จิตใจ และอาชีพ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานต่อไปได้
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ ได้แนวทางในการส่งเสริมอาชีพให้ผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษผ่านธุรกิจเพื่อสังคม สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและลดปัญหาการกระทำผิดซ้ำอย่างเป็นรูปธรรม
โครงการนี้เป็นการสำรวจและประเมินผลความพึงพอใจในการให้บริการ ความต้องการ ข้อเสนอแนะของกลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มผู้นำชุมชนชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐทั้งในระดับจังหวัด อำเภอและท้องถิ่น รวมถึงผู้ประกอบการภาคเอกชน ณ พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน (อพท.6) และพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.7) เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัด ก.พ.ร. การวัดระดับความสำเร็จในการสำรวจความพึงพอใจและพัฒนาการให้บริการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส สามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น
มีการนำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ การบริหารองค์กร ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาและเป็นข้อเสนอแนะให้กับองค์กร ที่จะสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ย่อมจะทำให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น อันส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ นำผลการสำรวจที่ได้จากกลุ่มเป้าหมายที่ใช้บริการ ไปปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการของพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน (อพท.6) และพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.7) ให้มีประสิทธิภาพ และตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่มาใช้บริการเกิดความพึงพอใจและตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น
โครงการนี้เป็นการตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเตาเผาขยะสำหรับใช้ในครัวเรือน ชุมชนดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี เป็นการศึกษาและตรวจวัดปริมาณการปลดปล่อยมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ขยะพลาสติกที่เกิดจากครัวเรือน โดยการตรวจวัดครั้งนี้เป็นการตรวจวัดมลพิษที่เกิดจากเตาเผาขยะโดยตรง ซึ่งนับได้ว่าเป็นข้อมูลใหม่ที่มีวิธีการตรวจวัดที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและสามารถใช้อ้างอิงในเชิงวิชาการได้
สำหรับในพื้นที่ห่างไกลที่ระบบการจัดเก็บขยะขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถเข้าถึงนั้นการจัดการขยะเป็นภาระของประชาชนที่จะต้องหาวิธีการในลดปริมาณและกำจัดเองตามความเหมาะสม ซึ่งการเผาเป็นวิธีการจัดการอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถลดปริมาณของขยะได้อย่างมีประสิทธิผล ทำให้กระบวนการเผาไหม้เกิดได้ไม่ดีดังนั้นการออกแบบเตาขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจทำหรับการนำไปปรับใช้ในชุมชนพื้นที่ห่างไกล
ผลที่ได้รับจากโครงการ พบว่า ถึงแม้เตาเผาขยะขนาดเล็กจะมีกำลังการเผาไหม้ที่ต่ำกว่าเตาเผาขยะที่กฎหมายกำหนดค่ามาตรฐานการระบายมลพิษจากปลายปล่องเป็นอย่างมาก ถือเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศอย่างที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ อ้างอิงได้จากผลการตรวจวัดค่าความทึบแสง (Opacity) ที่มีร้อยละของความทึบแสงที่สูงกว่าค่าที่มาตรฐานกำหนด ดังนั้นการสร้างเตาเผาแบบเตาต้นแบบที่ทำการศึกษานี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปปรับใช้กับพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม
จุดเด่นของโครงการนี้เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานอาชีพ คือ การกำหนดระดับการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ตามสาขา นั้น ๆ ซึ่งกรมการจัดหางานจัดทำขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำองค์ความรู้นี้ไปต่อยอดและนำไปปรับใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในระบบการศึกษา การฝึกสอนแรงงานสำมะโนครัว การถ่ายโอนแรงงานระหว่างประเทศ และอื่น ๆ โดยการกำหนดรหัสมาตรฐานอาชีพครั้งนี้ใช้รหัสหลักที่องค์กรแรงงานสากล (ILO) ได้จัดทำไว้พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับมาตรฐานอุตสาหกรรมอีกด้วย สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และ EEC
การมีมาตรฐานอาชีพ ทำให้บริษัทผู้ประกอบการ สังคม และประเทศ ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะฝีมือ มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน ได้รับความร่วมมือ ในการพัฒนาอาชีพร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้รับผู้เข้าทำงานที่มีฝีมือตามมาตรฐาน ลดปัญหาหรือลดความเสียหายในกระบวนการผลิตมีการประหยัดและได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น ในปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในเวทีสากล มีการโอนถ่ายแรงงาน จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพัฒนาบุคลากรให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ อันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ คณะวิจัยได้จัดประเภทมาตรฐานอาชีพไว้ 1,000 อาชีพ ในสองสาขา ได้แก่ สาขาการผลิตอาหารและสาขาการก่อสร้าง โดยทำงานกับคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ที่ประกอบอาชีพอยู่ในสาขานั้น ๆ อย่างใกล้ชิด
โครงการนี้เป็นการศึกษารูปแบบเฉพาะที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งเป็นกลไกในการสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ในบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
การศึกษาในครั้งนี้จะนำไปสู่ภาพรวมที่ชัดเจนสำหรับมุมมอง แนวคิดเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับบทบาทและภารกิจของภาครัฐที่เปลี่ยนไป ผ่านการทบทวนวรรณกรรมและกรณีศึกษาจากตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จรวมถึงการสร้างความตระหนักถึงแนวโน้มและทิศทางของบทบาทภาครัฐและการงานราชการในอนาคต ซึ่งนำไปสู่แนวทางการเปลี่ยนแปลงภารกิจของภาครัฐเพื่อสอดคล้องต่อสภาวการณ์และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ เป็นแนวทางในการปรับบทบาท และ ภารกิจของส่วนราชการรูปแบบเฉพาะให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อกำหนดแนวทาง และกลไกในการดำเนินงานของภาครัฐให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เสนอแนะแนวทาง ให้ข้อมูลที่สะท้อนถึงแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้การมุ่งเป้าสู่ทิศทางของภาครัฐในอนาคตผ่านการปรับบทบาทและภารกิจภาครัฐอย่างเหมาะสม ย่อมนำไปสู่การเกิดความเชื่อมั่นสาธารณะ (Public Trust) ในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
โครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบของการบริการทางการแพทย์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด -19 ทำให้โรงพยาบาลต้องเผชิญกับสถานการณ์ผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก การพัฒนาระบบคิวช่วยทำให้การบริหารจัดการ การนัดตรวจและการรายงานผลการตรวจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบนี้สามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลเครือข่ายได้มากกว่า 100 โรงพยาบาล เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริการ
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การพัฒนาและการออกแบบระบบคิวแบบ Open Core System สามารถทำให้โรงพยาบาลอื่นๆ นำระบบดังกล่าวมาใช้งานได้อย่างง่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการและความน่าสนใจคือการนำแนวทางของวิทยาการข้อมูลมาใช้แก้ปัญหาด้านธุรกิจจริงโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ขององค์กร ความท้าทายอยู่ที่ข้อมูลขององค์กรที่ไม่ได้มีความสมบูรณ์และยังมีหลายส่วนที่ไม่มีข้อมูลให้นำมาประยุกต์ใช้ทำให้ต้องพยายามหาแนวทางที่จะอนุมาณและปรับอัลกอริทึมการประมวลผลให้เหมาะสมกับข้อมูลที่มีและข้อมูลที่ไม่มี โดยองค์ความรู้ใหม่ที่ได้มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1. การประยุกต์ทำระบบแนะนำเมนูอาหารสำหรับลูกค้าใหม่โดยการอนุมาณจากข้อมูลผสมของลูกค้าเก่า
2. การประยุกต์การวิเคราะห์วิดีโอเพื่อวัดคุณภาพการให้บริการโดยการตรวจจับพนักงานและเวลาที่ให้บริการ
3. การประยุกต์เทคนิค Reinforcement Learning (RL) หรือ การเรียนแบบเสริมกำลังเพื่อเรียนรู้การสั่งวัตถุดิบให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
การประยุกต์ใช้ดังกล่าว ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์กรและยังสามารถพัฒนาต่อยอดความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลไปเพื่อพัฒนาเพิ่มเติมได้
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ องค์กรควรที่จะวางแผนกลยุทธ์ให้ชัดเจนว่าข้อมูลใดบ้างที่ควรจะเก็บและพัฒนาแนวทางที่จะจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้น เพื่อจะสามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้นองค์กรควรจะมีกลยุทธ์ที่จะพิจารณาว่าข้อมูลที่ได้เก็บไว้แล้วนั้นได้มีการนำมาใช้วิเคราะห์อะไรและอย่างไรบ้าง
โครงการนี้เป็นการประเมินผลการประชาสัมพันธ์ในประเด็นที่เป็นวาระแห่งชาติ คือการประเมินผลการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ของกรมประชาสัมพันธ์ ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เพื่อปรับแผนการใช้สื่อ ให้สามารถใช้ประโยชน์ในสภาวะวิกฤติของประเทศได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัด จุดเด่น จุดด้อย ในการดำเนินการประชาสัมพันธ์ของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีส่วนสำคัญทั้งที่เป้นการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง คือระดับประเทศชาติ สังคมในขณะเดียวกัน ในระดับองค์กร นำไปเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานของบุคลากรในกรมประชาสัมพันธ์
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ได้รับรู้ผลการปฏิบัติงานในด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์ของชาติ ทั้งในสถานกาณ์ปกติและสภาวะวิกฤติของชาติ โดยสื่อหลักและสื่อสนับสนุนต่าง ๆ ของกรมประชาสัมพันธ์ ทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับภูมิภาคและทั่วประเทศ
โครงการนี้เป็นการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน (ทุนหมุนเวียนที่อยู่ระหว่างพัฒนาการบริหารจัดการ) ของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจำปีบัญชี 2563 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและตามกำหนดระยะเวลา สำนักตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. จึงเห็นควรดำเนินโครงการทบทวนคู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของกองทุนฯ
จนเกิดเป็นคู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในขององค์กร ที่องค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการจัดทำเป็นคู่มือขององค์กรตนเองได้ในอนาคต
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ คู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจแก่บุคลากร ในเรื่องของการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรได้ โดยคู่มือนี้ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การบริหารงานกองทุนการบริหารความเสี่ยง กรอบแนวคิด นโยบายและวัตถุประสงค์ กระบวนการในการบริหารความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง การระบุระดับความรุนแรงและการจัดลำดับความเสี่ยง การกำหนดและการคัดเลือกวิธีการจัดการความเสี่ยง การกำหนดแผนงานและดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง การรายงานผลการบริหารความเสี่ยงและการประเมินผลการบริหารความเสี่ยง
โครงการนี้มีจุดเด่น คือ การจัดกิจกรรมการพัฒนา บ่มเพาะและเร่งสร้างวิสาหกิจเริ่มต้น (startup) โดยมุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แ้ก่ นิสิต นักศึกษา และบุคลากรในสถาบันฯ ให้สามารถพัฒนาตนเองเพื่อเป็นวิสาหกิจเริ่มต้น (startup) ได้อย่างประสบความสำเร็จ
มีทีมนักศึกษาที่สามารถเข้าประกวด Startup และการ Showcase ของ NIA ได้จำนวน 6 ทีม นอกจากนั้น มีจำนวน 2 ทีม ที่ได้รับการติดต่อจากบริษัทขนาดใหญ่ ในการพัฒนาแนวคิดธุรกิจต่อเนื่องในอนาคต
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ ได้พัฒนาความเข้าใจและทักษะสำหรับการเป็นวิสาหกิจเริ่มต้นใหม่ที่มีความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและนักศึกษา (รวมทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัย) ยังขาดความรู้และความเข้าใจอยู่ จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องส่งเสริมการพัฒนาความเข้าใจและทักษะด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
โครงการนี้เป็นการแปลงสินทรัพย์ด้านอสังหาริมทรัพย์มาเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อซื้อขายเป็นหน่วยลงทุนย่อย ๆ ได้ในตลาดทั่วโลกด้วยวิธีการช่วยระดมทุนจากประชาชนด้านอสังหาริมทรัพย์โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ที่กำลังอยู่สภาวะวิกฤติโควิด-19 เพื่อให้มี Cash flow มากขึ้น ในขณะที่สถาบันการเงินไม่มีการปล่อยกู้เกิดขึ้น
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ในต่างประเทศนั้น สามารถดำเนินการได้โดยง่าย แต่ในประเทศไทยค่อนข้างติดกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ในการทำให้สินทรัพย์แปลงเป็นดิจิทัล และมีขั้นตอนที่ ล่าช้าส่งผลให้ไม่สามารถกอบกู้วิกฤติให้ผู้ประกอบการได้ แต่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้้เพราะประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่เชื่อตามข่าวโฆษณาและมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนน้อย ทำให้ ก.ล.ต. ต้องออกมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น
โครงการนี้เป็นการประเมินกระบวนการทางานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562- 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและพันธกิจขององค์กร เพื่อที่จะทราบความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผู้รับทุน ที่จะทำให้เห็นว่าองค์กรมีการบริการที่ดีและมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ผลการประเมินจะนำไปใช้ในการประเมินการทำงานของผู้จัดการกองทุนและคณะกรรมการบริหารกองทุนและนำไปเสนอต่อรัฐสภา
ซึ่งผลการประเมินกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จะนำไปพัฒนากระบวนการทางานในแต่ละขั้นตอนของกองทุน หากพบปัญหาหรืออุปสรรค สามารถนำไปพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสายงานที่ทำหน้าที่ดังกล่าว นอกจากนี้ยังทำให้ทราบข้อคิดเห็นจากผู้รับทุน ทั้งนักวิชาชีพสื่อ นักวิชาการ กลุ่มองค์กรในระดับท้องถิ่นและระดับชาติที่ได้รับทุน โดยเฉพาะในมิติการให้บริการและมิติการบริหารจัดการ
ข้อสรุปที่สำคัญ พบว่า ผู้รับทุนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการก่อนการรับทุน ทั้งด้านช่องทางการประกาศด้านทุน ด้านการให้ข้อมูล และช่องทางการส่งข้อมูล ที่ได้รับข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภทแอปพลิเคชัน เช่น เฟซบุ๊กแฟนเพจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เว็บไซต์ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่มีความถี่ในการโพสต์ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ผู้รับทุนต้องการให้ทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพิ่มระยะเวลาในการยื่นเสนอโครงการมากขึ้นจากเดิมเป็น 1 เดือน เพื่อจะได้มีระยะเวลาในการเตรียมตัวสำหรับโครงการที่ต้องการสร้างเครือข่ายในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่โดยตรงในการทำโครงการ
โครงการนี้เป็นการออกแบบระบบการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการเปรียบเทียบกับผลการดําเนินงานของส่วนราชการในแต่ละไตรมาสตลอดปีงบประมาณ โดยมีกระบวนการเริ่มต้นจากการจัดทำคำของบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ โดยระบบที่ออกแบบใหม่นี้ยังครอบคลุมถึงการติดตามความก้าวหน้า (Progress Analysis) ของการดำเนินการด้วย และเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณยังสามารถพิจารณาได้ถึงการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ (Efficiency Analysis) การวิเคราะห์ประสิทธิผล (Effectiveness Analysis) การวิเคราะห์ความคุ้มค่า (Value of Money) และผลสัมฤทธิ์ (Achievement Analysis) ของการดําเนินงานเพื่อใช้เป็นฐานในการพิจารณางบประมาณในปีถัดไป
สำนักงบประมาณได้ใช้ประโยชน์ของระบบที่ออกแบบใหม่ในการพิจารณาเอกสารคำของบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่า นอกจากนี้ยังได้ระบบในการวิเคราะห์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในเชิง “สมการการประเมิน” ได้แก่ 1. ความคุ้มค่า 2. ความก้าวหน้า 3. ประสิทธิภาพ 4. ประสิทธิผล และ 5. ผลสัมฤทธิ์ ทำให้สามารถพิจารณาคำของบประมาณของหน่วยรับงบประมาณต่าง ๆ ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ระบบในการจัดทำงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณหรือหน่วยงานระดับกรม/เทียบเท่า ระดับจังหวัด และระดับบูรณาการ มีเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์และสร้างระบบติดตามประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการสร้างสมการต้นแบบที่เป็นผลผลิตของโครงการที่ศึกษานี้ได้นําไปสู่การเขียนและพัฒนาโปรแกรมด้านงบประมาณคือ โปรแกรม e-Budgeting และโปรแกรม BB-EvMIS เป็นเครื่องมือสำคัญในการใช้งานของระบบงบประมาณของประเทศในระยะถัดไป
โครงการนี้เป็นการนำแนวคิด “ศาสตร์พระราชา” และ Design Thinking มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานรัฐ เพื่อสร้างและปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานของข้าราชการ ในการพัฒนางานบริการ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและตระหนักถึงความจำเป็นของการสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดกับงานบริการที่รับผิดชอบ
เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (Innovation Team : iTeam) ดำเนินการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมงานบริการภาครัฐ โดยแบ่งตามผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ได้แก่
1. การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด นวัตกรรมต้นแบบ คือ ระบบติดตามผู้ผ่านการบำบัดผ่านแอปพลิเคชั่น
2. การให้บริการด้านที่ดิน นวัตกรรมต้นแบบ คือ ระบบการจองคิวรับบริการด้านที่ดินผ่านเว็บไซต์
3. การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ นวัตกรรมต้นแบบ คือ คู่มือสิทธิของคนพิการ รู้สิทธิ ชีวิตเปลี่ยน
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ iTeam มีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับโครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ โดย iTeam ส่วนใหญ่เห็นว่าโครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐเป็นประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของข้าราชการและพัฒนางานบริการภาครัฐให้ดีขึ้น นอกจากนี้ iTeam ยังได้ทดลองลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับงานบริการแต่ละด้าน รวมทั้งประชาชนที่รับบริการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ทำให้สามารถรวบรวมปัญหาและนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้ในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการทำความเข้าใจต่อกลุ่มเป้าหมาย จนถึงการพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ
โครงการนี้เป็นการปรับปรุงแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2564) ทำให้เกิดกรอบทิศทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย ให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม และเกิดการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
การปฏิรูปประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีความมั่นคงมั่งคั่ง และยั่งยืน โดยประชาชนและทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปเพื่อประสานประโยชน์ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข การพัฒนาการท่องเที่ยว คือการรักษาผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวต่อประเทศในองค์รวม ได้แก่ การเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ กระจายรายได้สู่ประชาชน การแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมไทย และการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยการปรับปรุงแผนครั้งนี้ได้คำนึงถึงค่านิยมหลักของการท่องเที่ยวของประเทศ คือ การปรับสมดุลการท่องเที่ยว การเชิดชูวิถีไทยและการเน้น “คน”เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นจุดหมายแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนำของโลกที่เติบโตอย่างมีดุลยภาพบนพื้นฐานความเป็นไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และกระจายรายได้สู่ประชาชนทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้า และบริการทุกรูปแบบอย่าง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พัฒนาบุคลากรในด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุก ๆ ภาคส่วน ส่งเสริมวิถีไทยพร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว การบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยว และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ
โครงการนี้เป็นกองทุนจัดตั้งใหม่ที่ต้องใช้ความรู้ในด้านการบริหารจัดการกองทุน การคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ประกอบกับความเหมาะสมในบริบทของการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทย ซึ่งต้องอาศัยทั้งการศึกษารูปแบบกองทุนต่าง ๆ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ เพื่อพัฒนาให้เกิดแผนยุทธศาสตร์ขึ้นมา รวมทั้งต้องคำนึงถึงระบบการบริหารจัดการแบบราชการ เนื่องจากเป็นกองทุนของรัฐ ซึ่งต้องทำให้การปฏิบัติเกิดขึ้นได้จริงอีกด้วย
กองทุนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างทั้งต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติอีกทั้งสามารถนำองค์ความรู้หรือโครงการไปต่อยอดเป็นโครงการอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ใ้นอนาคตอีกด้วย
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ทางกองทุนฯได้ทำการกำหนดกรอบนโยบายในการให้การสนับสนุนเงินทุน ออกเป็น 6 ด้าน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านที่ 1 การพัฒนาความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Security)
ด้านที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure)
ด้านที่ 3 การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
ด้านที่ 4 การพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (Digital Manpower)
ด้านที่ 5 การต่อยอดเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ (Digital Application)
ด้านที่ 6 การพัฒนาตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐ (Digital +Plus)
โครงการนี้เป็นโครงการการที่มุ่งเน้นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ฉบับที่ 2 ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2564 – 2567) ของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างเท่าทัน เพื่อแปลงทิศทางการบริหารงาน และใช้เป็นกรอบทิศทางของสำนักงานกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
ผลการศึกษาสภาพแวดล้อมและสถานการณ์หลักที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง สามารถกำหนดวิสัยทัศน์ได้ดังนี้ “กองทุนมีระบบบริหารจัดการที่ดี เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง ทัดเทียมนานาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง”
การดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว พึงต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล
2. พัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาสถานการณ์การปรับตัวด้านดิจิทัลสำหรับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ดำเนินการผ่านการประเมินผลระบบ e-Tax Invoice และ e-Filing ของกรมสรรพากร ระบบ e-Registration ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบบ e-Customs ของกรมศุลกากร และระบบ e-Payment ของสำนักงานประกันสังคม
ระบบทั้งหลายที่กล่าวมาใช้ในการยกระดับการดำเนินการของภาครัฐเพื่อให้บริการสาธารณะกับประชาชนให้ดียิ่งขึ้นอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และสร้างความโปร่งใสในการใช้งบประมาณแผ่นดิน อย่างไรก็ดี ย่อมจะต้องพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ในหลากหลายมิติ และจะต้องมีการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการให้บริการประชาชน เพื่อทำให้การบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพสูงสุด และตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างเหมาะสมที่สุด
ผลที่ได้รับจากโครงการ คือ การทำให้ความสะดวกในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยขยับสูงขึ้น ต้องอาศัยแนวทางการแก้ไขปัญหาในหลากหลายมิติไม่ว่าจะเป็น การลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัลในประเทศ การเพิ่มความสะดวกของการให้บริการและการออกแบบการให้บริการที่ดีง่ายต่อการใช้งาน การเปิดช่องทางส่งเสริมการให้บริการแบบแอนะล็อก (Analogue) และการยกระดับคุณภาพการให้บริการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร โดยการฝึกอบรมให้กับผู้ให้บริการในด้านต่าง ๆ ที่ขาดทักษะดิจิทัลที่จำเป็นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ อีกทั้งภาครัฐยังต้องให้ความสำคัญ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของผู้รับบริการในทุก ๆ ระดับ
ความน่าสนใจของโครงการนี้ คือ ผู้ดูแลคนพิการมีฐานะยากจน มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและผู้ดูแลจำนวนมากยังต้องออกจากงานประจำเพื่อที่จะมาดูแลคนพิการ ทำให้ขาดรายได้และไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ไม่ได้รับการศึกษา การมีอาชีพและการมีงานทำ รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมอย่างเต็มที่
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้คนพิการสามารถอยู่กับผู้ดูแลที่สามารถดูแลคนพิการได้อย่างเต็มที่ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จึงได้ดำเนินการศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดสวัสดิการครอบครัวอุปถัมภ์เพื่อเป็นครอบครัวทดแทนที่ทำหน้าที่ในการอุปการะ เลี้ยงดู ดูแลคนพิการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนเพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดสวัสดิการ สิทธิสำหรับผู้ดูแลคนพิการเพื่อให้สามารถดูแลคนพิการได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ได้แนวทางการจัดประเภทสวัสดิการสำหรับครอบครัวอุปถัมภ์และผู้ดูแลคนพิการที่เหมาะสมกับบริบท จำแนกออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. ค่าตอบแทนสำหรับครอบครัวอุปถัมภ์และผู้ช่วยคนพิการ
2. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายสำหรับสมาชิกในครัวเรือนและครอบครัวอุปถัมภ์
3. สิทธิประโยชน์อื่น ๆ สำหรับสมาชิกในครัวเรือน ครอบครัวอุปถัมภ์และผู้ช่วยคนพิการ
แต่ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นครอบครัวอุปถัมภ์คนพิการหรือเด็กพิการนั้น จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพร้อมทางจิตใจที่ประสงค์อยากจะดูแลผู้พิการให้เติบโตและได้รับการพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับผู้พิการเป็นสำคัญ แม้จะมีการจัดสวัสดิการทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินก็ตาม
โครงการนี้เป็นกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถในการทำหน้าที่ดูแลผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเหมืองแร่ กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักต่อบทบาทของตนเพิ่มขึ้น มีความสามารถในการดูแลผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพิ่มมากขึ้น และมีขีดความสามารถในการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ เครือข่ายภาคประชาชน ผู้ประกอบการเหมืองแร่ เจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานการเหมืองแร่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับการถ่ายทอดความรู้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมีความสามารถในการปฏิบัติด้านการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมตามภารกิจของตนเพิ่มมากขึ้น
โครงการนี้เป็นการประยุกต์หลักการวางแผนการเงินโครงการ ช่วยให้โครงการ PPP (Public Private Partnership) มีทางเลือกในการพัฒนา โดยนำมิติต่าง ๆ เข้ามาช่วยทำให้โครงการเกิดมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
โดยการนำแนวคิด Green and Smart City ที่มีความโดดเด่น ไปปรับใช้กับโครงการเมกกะโปรเจกต์ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งด้าน Financial Return and Non-Financial Return ให้กับโครงการ PPP (Public Private Partnership)
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาพื้นที่ กม.11 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นการประยุกต์หลักการวางแผนการเงินโครงการ มีส่วนช่วยให้โครงการ PPP (Public Private Partnership) มีทางเลือกในการพัฒนาก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการนำแนวคิด Green and Smart City ไปปรับใช้กับโครงการเมกกะโปรเจกจริง ทำให้เกิดผลประโยชน์ทั้งด้าน Financial Return and Non-Financial Return ให้กับโครงการ
โครงการนี้เป็นการประเมินนโยบายที่มีการนำการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) มาเป็นมาตรกาหนึ่งในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและในประเทศไทย ดังนั้นกระทรวงยุติธรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้พิจารณานำวิธีการพัฒนาทางเลือกมาใช้ โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่บ้านที่ประชาชนเคยค้า หรือลำเลียงยาเสพติด โดยมุ่งหวังให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้จากการประกอบอาชีพสุจริต และคาดหวังว่าจะทำให้ผู้ที่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีจำนวนที่ลดลง ปัญหายาเสพติดในพื้นที่เบาบางลง
โดยสามารถนำผลการประเมินไปเป็นข้อมูลในการพิจารณาเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการร้อยใจรักษณ์ในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการร้อยใจรักษ์ในระยะต่อไปได้อย่างเหมาะสม
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การนำการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) มาเป็นมาตรการหนึ่งในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ช่วยให้ประชาชนที่เคยเกี่ยวข้องกับเครือข่ายยาเสพติดกลับมาสู่สังคมได้โดยไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำอีก เนื่องจากประชาชนมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้จากการประกอบอาชีพสุจริต จนได้รับการยอมรับจากสังคม ซึ่งแนวทางดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความน่าสนใจของโครงการนี้ คือ การเคหะแห่งชาติมีนโยบายสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริมให้ผู้พักอาศัย (ลูกบ้าน) ทั่วประเทศ ให้มีส่วนร่วมในการสำรวจปัญหาและความต้องการ แล้วช่วยกันคิดร่วมกันตัดสินใจ ช่วยกันวางแผนและร่วมกันดำเนินการในแต่ละปีการเคหะแห่งชาติจะทำการสำรวจและประเมินผลถึงความสำเร็จต่าง ๆ ของโครงการที่ได้ดำเนินการ
ความท้าทายของโครงการนี้ คือ การลงพื้นที่ชุมชนทั่วประเทศเพื่อพบปะกับลูกบ้าน ซึ่งแต่ละท่านล้วนมีความต้องการและทัศนคติที่แตกต่างกันมาก โดยความต้องการของลูกบ้านในแต่ละพื้นที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม ชุมชนในภาพรวม อีกทั้งยังสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตและคุณภาพ ของประชากรในประเทศไทยอีกด้วย
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเคหะแห่งชาติ ดูแลประชาชนในระดับพื้นฐานมีการจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนสะท้อนให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายขององค์กร
ที่ต้องการให้ลูกบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนแต่ละแห่งสามารถดูแลและให้ความช่วยเหลือกันเองภายในชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐตลอดเวลา
โครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยทดลองประเมินผลกับแผนพัฒนาฉบับที่ 12 เริ่มต้นจากการทำ mapping ผลผลิต ผลลัพธ์ขั้นต้น ผลลัพธ์ขั้นกลาง และผลลัพธ์ขั้นปลายของแผนงาน/โครงการต่าง ๆ และเชื่อมโยงไปสู่ผลลัพธ์ปลายทาง ซึ่งก็คือ ประเด็นการพัฒนาต่าง ๆ ที่ระบุอยู่ในแผนพัฒนา จัดทำระบบเชื่อมโยงข้อมูลจากแผนงาน/โครงการเข้าด้วยกัน โดยมี สศช. เป็นศูนย์กลางผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูล Big Data
สศช. ได้รับระบบการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เชื่อมโยงระหว่างการประเมินผลแผนงาน/โครงการ ไปยังประเด็นการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รับทราบถึงผลการทดลองใช้ระบบการติดตามและประเมินผล ได้รับทราบถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินงาน รวมทั้งได้รับทราบถึงแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาระบบต่อไป
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ระบบการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นการนำเครื่องมือ “Outcome Mapping” มาประยุกต์ใช้เนื่องจากจำนวนแผนงาน/โครงการของหน่วยราชการมีเป็นจำนวนมาก อันทำให้ไม่สามารถและไม่จำเป็นที่จะต้องจัดทำการประเมินผลทุก ๆ แผนงาน/โครงการจึงมีการจัดลำดับความสำคัญเพื่อคัดเลือกแผนงาน/โครงการ โดยอาศัยเทคนิค Prioritization Matrix ควบคู่กับ Expert Judgment โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา 1) เป็นแผนงาน/โครงการที่มุ่งตอบสนองการบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมากที่สุด 2) ความต่อเนื่องของแผนงาน/โครงการ และ 3) จำนวนงบประมาณที่ใช้ในแผนงาน/โครงการนั้น
โครงการนี้เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนทุนเศรษฐกิจพอเพียง ได้สืบสานพระราชปณิธานในการมีจิตอาสา ทำความดีเพื่อชาติศาสน์กษัตริย์ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมผ่านกิจกรรมค่ายค่ายแรก เน้นให้ลด-ละ-เลิกการสร้างขยะ และร่วมกันใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ภายใต้โครงการ “รักษ์ต้องเลิก” ค่ายที่ 2 เน้นการเรียนรู้พัฒนาชุมชนในพื้นที่ชนบทที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนโดยการสร้าง Facebook page “ชุมชนดงขี้เหล็ก ชุมชนไม่เล็ก จัดการตนเอง”
นักเรียนทุนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นผู้นำในการเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้แก่เยาวชนรุ่นน้อง โดยนักเรียนทุนเศรษฐกิจพอเพียง สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อ Online ในการเผยแพร่การพัฒนาชุมชน และพัฒนานักเรียนที่เป็นแกนนำให้มีศักยภาพในการสืบสานการพัฒนาพื้นที่ของตนเองได้
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ นักเรียนทุนเศรษฐกิจพอเพียง ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นแกนนำในการขยายผลการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาในระดับต่าง ๆ และสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้ร่วมกันสืบสาน รักษา และต่อยอด
ความน่าสนใจของโครงการ เป็นการค้นพบแนวทางที่เกิดขึ้นใหม่ 3 แนวทาง ได้แก่
1. แนวทางการคัดเลือกกำลังคนคุณภาพภาครัฐ
2. แนวทางการพัฒนากำลังคนคุณภาพภาครัฐ
3. แนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนากำลังคนคุณภาพภาครัฐ
อีกทั้งยังเป็นการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการวางแผนกำลังคนคุณภาพภาครัฐ การพัฒนาหลักสูตรนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รวมทั้งพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร อันจะนำไปสู่การพัฒนากำลังคนคุณภาพภาครัฐ
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ
1. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการนั้นสามารถทำการวางแผนพัฒนา การกระจาย การกำหนดเป้าหมาย การคัดเลือก นปร. ให้สอดคล้องกับความต้องการของระบบราชการ
2. หัวข้อที่ควรเพิ่มเติม คือการสร้างทัศนคติที่ดี
ในการทำงานภาครัฐ ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบการทำงานได้
3. กระบวนการพัฒนาควรมีเป้าหมายในการพัฒนา เพื่อลดระยะเวลาการเรียนรู้ภาคทฤษฎี
4. การบริหารหลักสูตร นปร. ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับหลักสูตรที่ต้องการสร้างนักบริหาร
การเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่
5. เพิ่มเติมทักษะทางด้านภาษาที่จำเป็นให้กับทาง นปร.
โครงการนี้เป็นการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อ การประปาส่วนภูมิภาค ประจำปี 2563 ทั้งในภาพรวมองค์กร และกลุ่มตำแหน่ง และระยะเวลาในการปฏิบัติงานทำให้เกิดความรู้ ความเข้าในในความพึงพอใจ และความผูกพันที่พนักงานมีต่อหน่วยงานในองค์ประกอบด้านต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการของ กปภ. ในด้านความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน มีแนวทางสอดคล้องกับระบบประเมินผลตามหลักเกณฑ์ Enablers ด้านที่ 6 การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management : HCM)
การนำเอาทฤษฎี และองค์ความรู้ทางด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาและเป็นข้อเสนอแนะให้กับองค์กร ซึ่งหน่วยงานได้นำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ทำให้หน่วยงานเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น ส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ รวมถึงมีแนวทางที่สอดคล้องกับระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SEPA)
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ได้ผลการศึกษาความพึงพอใจ ความผูกพันที่พนักงานมีต่อการประปาภูมิภาค ได้รับทราบประเด็นความไม่พึงพอใจ ภาพลักษณ์ของหน่วยงานในมุมมองของพนักงานองค์กร รวมถึงผลการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะที่หน่วยงานควรจะปรับปรุงเพื่อให้พนักงานเกิดความพึงพอใจและความผูกพันกับหน่วยงานมากขึ้น อีกทั้งการดำเนินการของ กปภ. ในด้านความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานมีแนวทางสอดคล้องกับระบบประเมินผลตามหลักเกณฑ์ Enablers
ด้านที่ 6 การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management : HCM)
โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพการบริการสู่ระดับสากล โดยเฉพาะการพัฒนาอาชีพของบุคคลในท้องถิ่น ซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากยุทธศาสตร์ชาติได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจรากฐาน การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การกระจายรายได้ในท้องถิ่น โดยผลผลิตของโครงการนี้จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นให้ดีขึ้น
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มีหลักเกณฑ์การประเมิน รับรองสมรรถนะอาชีพ และยกระดับทักษะ ความรู้ความสามารถกำลังคนของชาติให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การท่องเที่ยวในท้องถิ่นของไทย ได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการให้บริการ โดยใช้มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เป็นแนวทางและกรอบในการพัฒนากำลังคน โดยมีสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูล ตลอดจนพิจารณาประเมิน และรับรองสมรรถนะวิชาชีพกำลังคนของประเทศไทยต่อไป
โครงการนี้เป็นการวิจัยเพื่อเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของคนไทยเมื่อเจ็บป่วย และการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นความก้าวหน้าใหม่ ๆ ในแต่ละปี พร้อมข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นรายจังหวัด วิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำ/ความแตกต่างระหว่างจังหวัด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านอุปสงค์และบางส่วนด้านอุปทาน การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ คือ การถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลางให้ท้องถิ่น เช่น อบจ. เทศบาล และ อบต.
ประโยชน์ของโครงการ คือ การนำเสนอการวิเคราะห์ตามสภาพเป็นจริง (situational analysis) โดยใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินประมวลจากทุกหน่วยงานนำมาวิเคราะห์พลวัต วิเคราะห์เปรียบเทียบข้ามพื้นที่ (เขตและจังหวัด) และการนำผลวิจัยไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการและในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ผ่านหน่วยงาน/องค์กรเช่นคณะกรรมการกระจายอำนาจ เพื่อลดช่องว่างและลดความเหลื่อมล้ำ
โครงการนี้ทำให้เห็นการขยายตัวของความต้องการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับพื้นที่ (จังหวัด) เข้าใจปัญหาความไม่พอเพียงด้านอุปทานในหลายพื้นที่ และความแตกต่างของระบบบริการ
โครงการนี้เป็นโครงการที่พัฒนาบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานราชการที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดูแลสังคม เมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วหน้า
มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข การขับเคลื่อนนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ จึงต้องอาศัยบุคลากรของกระทรวงในการแปลงไปสู่การปฏิบัติจริง โดยเฉพาะผู้บริหารซึ่งถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย ดังนั้นการพัฒนาผู้บริหารในระดับต่าง ๆ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา
ความสำคัญดังกล่าวทำให้กระทรวงมีการจัดโครงการการอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข (นบส.สธ) เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ สมรรถนะทางการบริหารให้ก้าวหน้าเป็นนักบริหารในระดับที่สูงขึ้น
ผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขนำเอาความรู้ที่ได้จากการอบรม มาพัฒนาวิธีการคิดวิธีการบริหารให้มีความทันยุค ทันสมัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะแวดล้อมและต่อยอดไปสู่การวางแผนสนับสนุน Medical Hub ให้กับกระทรวงสาธารณสุข
โครงการนี้เป็นการเปิดรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และทัศนคติเกี่ยวกับระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากหลากหลายภาคส่วน ประกอบด้วย เจ้าของโครงการ (ภาครัฐและเอกชน) นิติบุคคลผู้มีสิทธิ์ทำรายงาน คณะกรรมการผู้ชำนาญการ หน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อสะท้อนความเห็นที่แตกต่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน คือ การปรับปรุงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถลดความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการและก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผลจากการประเมินนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียน การสอน การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร สร้างการยอมรับและความเชื่อมั่นต่อระบบการประเมินในสังคมและยังเป็นแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงระบบการประเมินผลได้ในอนาคต
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นกระบวนการที่สร้างการยอมรับและความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ประกอบด้วย เจ้าของโครงการ (ภาครัฐและเอกชน)
นิติบุคคล ผู้มีสิทธิ์ทำรายงาน คณะกรรมการผู้ชำนาญการ หน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต ประชาชน และสื่อมวลชน โดยเชื่อว่าถ้าโครงการต่าง ๆ ได้มีการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วจะสามารถช่วยลดความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการได้
โครงการนี้เป็นการพัฒนาแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับปรับปรุง (ฉบับที่ 5) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน ตามแผนประชาสัมพันธ์ในปี พ.ศ. 2564 – 2565
แผนนโยบายระดับชาติที่ทางกรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะหน่วยงานเลขานุการ ได้นำเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อเห็นชอบและให้หน่วยงานราชการใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายประชาสัมพันธ์ภาครัฐ
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ได้แนวทางด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ ใน 4 แนวทางได้แก่
1. การสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อเรื่องการสื่อสาร
2. การสร้างทัศนคติเชิงบวกและการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวไทย
3. การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างการรู้เท่าทัน
4. การยกระดับบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล
โครงการนี้เป็นการศึกษาช่องทางอันเป็นที่นิยมในการรับรู้ข่าวสารของชาวกรุงเทพมหานครในยุค Thailand 4.0 ผลการศึกษาจำแนกตามวัยของผู้ตอบแบบสอบถาม ยิ่งทำให้ผลที่ได้มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง
ผลการสำรวจสามารถนำไปต่อยอดเพื่อให้องค์กรภาครัฐ อย่างสำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานครนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากขึ้น
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ประชาชนมีความตื่นตัว ตระหนักต่อการทำงานของกรุงเทพมหานครในระดับที่ดี ในส่วนองค์กรก็สามารถตอบรับความต้องการของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครได้ดีเช่นกัน แต่ในบางกรณีมีต้องปรับปรุง
โครงการนี้เป็นแนวทางในการทำงานที่มีคุณภาพขององค์กรรัฐที่เข้าร่วมการอบรม อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดของสถาบันการประชาสัมพันธ์ ที่ส่งเสริมการทำงานให้องค์กรมีความเชี่ยวชาญ และเป็นที่ยอมรับทางสังคม
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของสถาบันการประชาสัมพันธ์ และมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการทำงานประชาสัมพันธ์ในด้านดิจิทัลมากยิ่งขึ้น
โครงการนี้เป็นการสำรวจข้อมูลอุตสาหกรรมบริการ (โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายสินค้า) ในจังหวัดหนองคายกว่า 100 แห่งเพื่อทำการวิเคราะห์ในเชิงลึก พร้อมยังมีการสำรวจเชิงคุณภาพ ซึ่งนำมาสู่การศึกษาบริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ในภาคบริการระดับท้องถิ่น โดยใช้กรณีศึกษาในจังหวัดหนองคาย
ผลการศึกษาได้ถูกนำเสนอให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ เพื่อใช้ในการยกระดับวิสาหกิจบริการในจังหวัดให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นหนึ่งในรูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจบริการเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่อื่น ๆ ได้อีกด้วย
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การยกระดับประเทศไทยให้ก้าวออกจากประเทศในกลุ่มกับดักรายได้ปานกลางนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มสัดส่วนในภาคบริการ เพื่อเป็นหัวจักรสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะภาคบริการในท้องถิ่นที่จะมีบทบาทสูงต่อการยกระดับเศรษฐกิจในจังหวัด และช่วยลดช่องว่างทางรายได้อีกทางหนึ่ง
โดยมีความสนใจในการศึกษารูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจในจังหวัดหนองคาย เนื่องจากปัจจุบันจังหวัดหนองคายมีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจบริการจำนวนมาก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
สถานศึกษาพอเพียงที่ผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ (สปล.) เป็นสถานศึกษาพอเพียงที่ส่งผลงานการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษามาหนึ่งโครงการ ซึ่งปรากฏภาพความสำเร็จของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรของสถานศึกษา และผู้เรียนซึ่งต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาและปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ละโครงการจะได้รับการประเมินสู่การคัดเลือก "รางวัลสูงสุดระดับชาติ" โรงเรียนที่ได้รับรางวัล สปล. จึงมีศักยภาพเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง และการจัดการศึกษาที่ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง เป็นแบบอย่างให้แก่สถานสถานศึกษาพอเพียงอื่น ๆ รวมถึงชุมชนและสังคมในวงกว้างได้ เป็นการยก ระดับคุณภาพไม่ให้หยุดนิ่งหลังจากได้รับการประกาศเป็นสถานศึกษาพอเพียงแล้ว
ผลการประเมินสรุปได้ว่า มีโรงเรียนจำนวน 13 โรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายให้ได้รับรางวัลระดับชาติ สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยสถานศึกษาเกือบครึ่งจัดกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นโครงการทางการเกษตร ที่เหลือเป็นโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม และด้านอื่น ๆ นอกจากนี้ กรรมการยังได้มีการประเมินโดยตรงเกี่ยวกับศักยภาพในอนาคตสำหรับการพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการประเมินเชิงคุณภาพทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาโรงเรียนต่อไป
การคำนวณการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ลูกหนี้การค้า แต่เดิมทีอาศัยข้อมูลในอดีต และรอให้เกิดการด้อยค่าขึ้นจริงก่อน เช่น ลูกหนี้ค้างชำระเกินกำหนดเป็นเวลา 90 วัน จึงทำการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญ แต่ด้วยมาตรฐานใหม่ TFRS9 กำหนดให้ต้องคำนวณการด้อยค่าโดยอาศัยทั้งข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และการคาดการณ์อนาคตจึงทำให้เป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายสำหรับบริษัทต่าง ๆ
การคำนวณการด้อยค่าของทรัพย์สินทางการเงินแม้จะมีความซับซ้อนไม่มาก แต่เป็นเรื่องที่บริษัทเอกชนทั่วไปโดยเฉพาะที่ไม่ใช่สถาบันการเงินไม่มีความชำนาญ การบังคับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ในการลงบัญชีและตั้งค่าเผื่อหนี้สูญขององค์กรที่มีส่วนได้เสียสาธารณะจึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม และดำเนินการอย่างถูกต้องเหมาะสม
โครงการนี้เป็นโครงการที่ปรึกษาการคำนวณการด้อยค่าของลูกหนี้การค้า โดยใช้ข้อมูลลูกหนี้การค้าของบริษัทผู้ขอรับบริการ และข้อมูลคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจ โดยได้มีการคำนวณผลสูญเสียคาดหวังจากการด้อยค่าทางเครดิตด้วย Spreadsheet และ ส่งมอบให้ผู้รับบริการเพื่อดำเนินการลงบัญชีต่อไป
การประมูลคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ จำเป็นต้องมีความโปร่งใส เป็นธรรมและสะท้อนการแข่งขันในการประมูล เพื่อให้ได้ราคา Fair Value อย่างแท้จริง
ในการนี้ ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องมีการแสดงผู้มีอำนาจควบคุมกิจการที่แท้จริง หรือ Ultimate Control ว่าเป็นผู้ใด และมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวโยงกับผู้ข้าร่วมประมูลรายอื่นหรือไม่
การดูอำนาจควบคุม จะดูจาก 3 ลักษณะ คือ 1) การถือหุ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม 2) การเป็น คณะกรรมการ หรือ ผู้บริหารกิจการ ซึ่งมีอำนาจในการควบคุมกิจการตามกฎหมาย และ 3) พฤติกรรมในการควบคุมกิจการ ผ่านการมี Nominee หรือ มีการทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้กิจการถูกควบคุม
โครงการนี้ ทำให้การประมูลคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติของชาติเกิดความเป็นธรรม โปร่งใส สะท้อน ราคา ที่เป็นธรรม นอกจากนี้ ยังทำให้ได้เรียนรู้ วิธีการค้นหาและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส โดยถ้าผู้เข้าร่วมประมูลมีความเกี่ยวโยงกัน ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม หรือมี หรือเป็นผู้มีอำนาจควบคุมเป็นคนเดียวกัน ย่อมสามารถทำให้การประมูลมีการ ฮั้ว หรือ ทำให้ราคาที่ได้จากการประมูลไม่สะท้อน Fair Value
โครงการนี้เป็นการให้บริการทางวิชาการแก่กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมจัดหางาน เพื่อกำหนดนิยามมาตรฐานอาชีพ จำนวน 1,500 อาชีพ เกี่ยวกับการสาธารณสุข เภสัชกรรม การสื่อสาร เทคโนโลยีดิจิทัล โดยทำงานร่วมกับตัวแทนจากสำนักงาน กรม และกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้ใหม่จากโครงการนี้ คือ นิยามอาชีพและมาตรฐานวิชาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะวิชาชีพที่เป็นอาชีพใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ คือ เป็นการสร้างมาตรฐานเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้กับกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน นำไปเผยแพร่ต่อทั้งในแวดวงการศึกษาและการประเมินความสำเร็จของการทำงาน
โครงการนี้เป็นการศึกษาระดับความสามารถในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 7 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แต่ละกลุ่มธุรกิจมีระดับความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมและการตอบสนองต่อแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายSDGs ที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นความท้าทายขององค์การมหาชนที่จะปรับปรุงระดับความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองต่อความยั่งยืนขององค์การตนเองและประเทศชาติ
ผลการศึกษาได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ อย่างน้อย 2 ผลงาน องค์การสามารถนำผลการศึกษาไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้องค์การมีความยั่งยืนมากขึ้น ส่งผลรวมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และยังสามารถนำไปปรับปรุงการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในแต่ละกลุ่มธุรกิจขององค์การมหาชนในประเทศไทยที่มีความแตกต่างกันในหลายด้าน
การศึกษากระบวนการในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในครั้งนี้ได้รับการร้องขอจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยโกเบ ประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่า ประเทศญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะศึกษาศักยภาพ โดยเฉพาะด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทมหาชนในประเทศไทย การศึกษาในลักษณะนี้ ควรได้รับการสนับสนุนให้มีการศึกษาในระดับภายในประเทศ ซึ่งสามารถกระทำได้โดยไม่ยาก
โครงการนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจาก โครงการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ เอสซีจี ปี 2562 เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาเครือข่ายให้สามารถพร้อมรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (ศรร.) และสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (สปล.) กิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการขยายผลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา และช่วยเสริมหนุนการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
พร้อมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมโรงเรียนเป้าหมายให้พร้อมรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา และสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยมีการทบทวนความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติภารกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในการจัดการศึกษาในสถานศึกษา ทั้งด้านการบริหาร (นโยบาย วิชาการ งบประมาณและบริหารทั่วไป) การจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกระดับชั้นและทุกสาระวิชาจนเป็นแบบอย่าง มีบุคลากร ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ครู หรือนักเรียนแกนนำ ที่สามารถเป็นวิทยากรและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถาบันอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการขยายผลสู่สถาบันอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการนี้ ทางสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้สนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ จนสามารถขอรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ซึ่งเป็นรางวัลความสำเร็จของการจัดการศึกษาระดับชาติ ของกระทรวงการศึกษา
โครงการนี้เป็นการสำรวจข้อมูลวิสาหกิจชุมชนภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product) ในจังหวัดหนองคายกว่า 100 แห่งเพื่อทำการวิเคราะห์ในเชิงลึก พร้อมทั้งมีการสำรวจเชิงคุณภาพ ซึ่งนำมาสู่ผลการวิเคราะห์ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Social Network Analysis เป็นการวิเคราะห์หาเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมที่ได้ประยุกต์ใช้ครั้งแรกในวิสาหกิจชุมชน
งานศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาบริบทของการพัฒนาสินค้าสร้างสรรค์ในระดับท้องถิ่น โดยใช้กรณีศึกษาในจังหวัดหนองคาย ผลการศึกษาได้ถูกนำเสนอให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ เพื่อใช้ในการยกระดับวิสาหกิจบริการในจังหวัดให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การยกระดับประเทศไทยให้ก้าวออกจากประเทศในกลุ่มกับดักรายได้ปานกลาง จึงให้ความสนใจในการศึกษาการพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดกลางในท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย ผ่านระบบการขับเคลื่อนด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Rural Enterprise) โดยปัจจัยสำคัญคือ การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เพิ่มความคล่องตัวของธุรกิจให้สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน
องค์กรที่มีขนาดใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครมีการตรวจสอบการทำงานของตนเอง โดยมีตัวชี้วัดคือความพึงพอใจในการทำงาน ซึ่งการตรวจสอบการทำงานเช่นนี้ส่งผลที่ดีต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร
การทำงานบริการรับใช้พี่น้องประชาชนเป็นหนึ่งในการทำงานของกรุงเทพมหานคร ความพึงพอใจของพี่น้องเป็นตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนให้เห็นเบื้องต้นได้ว่าองค์กรปฏิบัติงานได้ดีมากน้อยอย่างไร กรุงเทพมหานครสามารถนำผลการสำรวจที่ได้มาปรับปรุงการทำงานขององค์กร
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการคือประชาชนชาวกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจในการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครเป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติต่างทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
จากการที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ได้ดำเนินโครงการ "เมืองที่เป็นมิตรสำหรับคนพิการและคนทั้งมวล (SMILE City)" เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเมืองที่เป็นมิตรสำหรับทุกคนและคนทั้งมวลตามยุทธศาสตร์ AAA (Accessibility For All Act) ในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยการสร้างพื้นที่ต้นแบบให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระและเท่าเทียม กำหนดเป้าหมายใน 6 ภาค 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี นนทบุรี สงขลา พิษณุโลก และอุดรธานี อีกทั้งมีจังหวัดที่เพิ่งได้รับเลือกเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการอีก 2 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลกและอุดรธานี โครงการนี้จึงมุ่งที่จะวัดระดับคุณภาพชีวิตคนพิการในพื้นที่ดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อสำรวจข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิตคนพิการตามตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพชีวิตคนพิการ 7 ด้าน ประกอบด้วย
1) สิทธิและความเท่าเทียม
2) สุขภาวะคนพิการ
3) การศึกษา
4) อาชีพ การจ้างงานและรายได้
5) การออกสู่สังคม
6) กีฬาและนันทนาการ
7) สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
เพื่อเป็นการสะท้อนสถานการณ์การเข้าถึงสิทธิคนพิการตามมาตรฐานคุณภาพชีวิตคนพิการและการคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์คุณภาพชีวิตคนพิการ อันจะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้อย่างเหมาะสมและทันเหตุการณ์
โครงการนี้ได้พัฒนาแบบประเมินความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจของพนักงานต่อการบริหารงานองค์กรที่เฉพาะเหมาะสมกับองค์กรจากการบูรณาการผลการวิเคราะห์สังเคราะห์ฐานคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางและผลการศึกษาภาคสนามเชิงลึกเกี่ยวกับบริบทเฉพาะขององค์กรด้วยการวิจัยแบบผสานวิธี
ประโยชน์ที่ได้คือหน่วยงานที่ขอรับบริการ มีแนวทางเชิงปฏิบัติในการสร้างเสริมความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรแบบมุ่งเป้า โดยจำแนกตามส่วนงาน กลุ่มงาน และเจเนอเรชั่น
ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจต่อการบริหารและความผูกพันกับองค์กรของพนักงานมีความแตกต่างกันอย่างน่าสนใจระหว่างกลุ่มอายุงาน และตำแหน่งงาน โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานคือความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ความภูมิใจในการมีส่วนร่วมกับภารกิจของ องค์กรซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศ
โครงการนี้ได้มีการจัดทำแผนแม่บทการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน บรรจุไว้ซึ่งแผนระยะสั้น กลาง ยาว และระเบียบปฏิบัติในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และภาคีพัฒนา เพื่อให้แผนแม่บทฉบับนี้มีความสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาในพื้นที่ และทิศทางการพัฒนาของพื้นที่นั้น ๆ อีกทั้งแผนแม่บทฉบับนี้ยังผนวกเอาระบบฐานขัอมูลและสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดทำแผนแม่มทอีกด้วย โดยระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้ มีทั้งข้อมูลทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Resource Mapping) และข้อมูลวิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Skill Mapping)
ผลสำเร็จที่ได้จากโครงการนี้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำไปใช้เป็นแผนแม่บทของประเทศเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และสอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศภูมิศาสตร์จะรวบรวมทั้งข้อมูลทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลดังกล่าวได้ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน สังคม และประเทศ
โครงการนี้มีจุดเด่นและความท้าทายอยู่ที่การค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานในการทำงาน และออกแบบแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร โรงพยาบาลราชวิถีอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการพัฒนานักสร้างเสริมคุณภาพชีวิต และทดลองดำเนินโครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับกลุ่มภารกิจ โดยกำหนดขอบข่ายการดำเนินงานที่สอดรับกับบริบทขององค์กรและกลุ่มเป้าหมาย
ความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการฯ คือ โรงพยาบาลราชวิถีได้ข้อมูลที่ผ่านการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน รวมทั้งมีโมเดลการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรในระดับองค์กร และระดับกลุ่มภารกิจ และสามารถดำเนินโครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานในโรงพยาบาลราชวิถี นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา Happiness Champion หรือ นักสร้างเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานของโรงพยาบาลราชวิถี เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนโครงการนำร่องต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ ถือเป็นต้นแบบของการให้ความสำคัญกับ "ทรัพยากรบุคคล" ในองค์กรอย่างแท้จริง
โครงการนี้เกิดจากพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ที่ทรงสนพระทัยในความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ต้องขังหญิง เนื่องจากเดิมเรือนจำไม่ได้สร้างมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่และสุขลักษณะของเพศหญิง เพื่อให้เกิดการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ จึงได้มีโครงการประเมินผลโครงการฯ ขึ้น
ผลการประเมินสามารถนำมาปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป
จากการประเมิน พบว่า เงื่อนไขความสำเร็จของโครงการส่งเสริมให้มีเรือนจำต้นแบบตามข้อกำหนดกรุงเทพ คือ การที่ผู้บริหารผลักดันโครงการให้เกิดความต่อเนื่อง และทำให้กรมราชทัณฑ์และเจ้าที่ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงาน เห็นประโยชน์จากการดำเนินโครงการ
โครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาระบบรองรับการคืนคนดีให้สังคม ให้เกิดผลในเชิงรูปธรรม มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดด้วยการสนับสนุนทุนประกอบอาชีพในระดับพื้นที่ พัฒนาศักยภาพคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะยาว โดยเริ่มดำเนินการมอบทุนประกอบอาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559-2562 จำนวนทั้งสิ้น 2,257 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 49,065,409 บาท จากผลการประเมินการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวเป็นไปตามขั้นตอนและแนวปฏิบัติที่สำนักงาน ป.ป.ส. ได้กำหนดไว้
ในด้านผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการฯ พบว่า มีประโยชน์กับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด มีส่วนช่วยให้ไม่กลับไปเสพยาเสพติดซ้ำอีก และช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งควรสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ควรพัฒนาโปรแกรมมาตรฐานในการขอรับทุน สร้างการรับรู้ของผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดในการเข้าถึงความช่วยเหลือ พัฒนาช่องทางการติดตามโดยใช้แอปพลิเคชั่น และสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพตามศักยภาพของผู้ผ่านการบำบัด
ผลลัพธ์การประเมินโครงการฯ ในภาพรวม คือ สำนักงาน ป.ป.ส. ควรดำเนินการโครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดต่อไป
โครงการนี้ ได้นำ Distributed Application มารวมกับเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลแบบกระจาย (DLT) หรือ Blockchain มาใช้การออกแบบ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลด้วยการเพิ่มช่องทางขายผ่านแอปพลิเคชั่นและ LINE for Business, เกิดการวิจัย และออกแบบการออกพันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลแบบกระจาย (DLT) หรือ Blockchain ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย และเกิดการจัดทำแผนแม่บท Digital Bond and Saving Bond ให้กับกระทรวงการคลัง ทำให้เกิดประโยชน์คือประชาชนสามารถลงทุนผ่าน Bond Direct Application ไม่ต้องไปต่อแถวซื้อที่ธนาคาร
โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ความท้าทายของการดำเนินโครงการฯ คือการส่งเสริมให้มีมิติทางการท่องเที่ยวที่ตระหนักถึงผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบของการท่องเที่ยวต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่เดิมการท่องเที่ยวถูกดำเนินไปด้วยแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว การส่งเสริมดังกล่าวต้องใช้เวลาและองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาให้การท่องเที่ยวมีความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
แนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับชุมชน คือผลผลิตของโครงการฯ ที่ชุมชน แหล่งท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการท่องเที่ยว สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่และส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาข้างต้นจะนำมาซึ่งการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง รายได้ทางการท่องเที่ยวระยะยาว และมีสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจนทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ต่อไป
ในการส่งเสริมให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยมีความยั่งยืน จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย การดำเนินการพัฒนาดังกล่าวมิได้เป็นเพียงหน้าที่ของชุมชนหรือแหล่งท่องเที่ยว หากแต่ต้องมีการส่งเสริมและร่วมพัฒนาจากผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการ ตลอดจนนักท่องเที่ยว ในการร่วมกันสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับการท่องเที่ยวได้อย่างแท้จริง
โครงการวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาวงจรและกระบวนการเกิดการทุจริตเชิงนโยบายในระดับชาติและท้องถิ่น และการออกแบบระบบ มาตรการ กลไกทางกฎหมายและอื่น ๆ เพื่อการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายในทุกขั้นตอนของการดำเนินนโยบาย
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงบประมาณของรัฐสภา และภาคประชาชนสามารถนำผลการศึกษาวิจัยนี้ไปใช้ในการออกแบบกลไกการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายในทุกขั้นตอนการดำเนินนโยบาย ร่วมกับการพัฒนาระบบการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่รัฐสภา เพื่อใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติและควบคุมตรวจสอบงบประมาณ ตลอดจนออกแบบรูปแบบงบประมาณสองขาเพื่อสร้างกลไกการตรวจสอบนโยบายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โครงการศึกษาวิจัยนี้ ได้กำหนดคำจำกัดความของคำว่าการทุจริตเชิงนโยบาย ไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุม นอกจากนั้นยังพบว่า การทุจริตเชิงนโยบายนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดขั้นตอนของกระบวนการทางนโยบาย โดยในปัจจุบันกลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมนั้น ไม่อาจยับยั้งการเกิดการทุจริตเชิงนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนที่มีบทบาทเกี่ยวข้องได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบและกลไกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายให้มีประสิทธิภาพครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
โครงการนี้ ทำให้เกิดการเรียนรู้กระบวนการทำงานของหน่วยงานและการประสานเชื่อมโยงกันของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในการทำงาน นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้กรณีศึกษาที่น่าสนใจ ที่พยายามนำกรอบของธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารองค์การในบริบทประเทศไทย
กรณีศึกษาธรรมาภิบาลในโครงการนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานในสถาบันการศึกษา ทั้งในเรื่องของการทำความเข้าใจหลักการอย่างแท้จริง รวมทั้งนำปัญหาและอุปสรรคที่หน่วยงานได้ประสบมาใช้ทำความเข้าใจในกระบวนการประเมินธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
โครงการนี้เป็นโครงการประเมินผลตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการด้านการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งนอกจากจะเป็นผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีความตั้งใจปฏิบัติงานแล้วยังส่งผลดีต่อประชาชนซึ่งจะได้รับรู้ข่าวสารสำคัญของประเทศ
ผลวิจัยได้นำไปใช้เป็นแนวทางการปรับแผนการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลโครงการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายสำคัญของรัฐบาล ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทุกภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งกำหนดเกณฑ์ที่ใช้เป็นตัวชี้วัด ประเมินผลการปฏิบัติราชการของกรมประชาสัมพันธ์ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น และเป็นประโยชน์กับทั้งผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงานของกรมประชาสัมพันธ์ทั่วไป ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมไปถึงประชาชนทั่วประเทศ
โครงการนี้ เป็นโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและองค์ความรู้ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลได้อย่างทันท่วงที ทำให้หน่วยงานได้ทราบถึงข้อจำกัดและแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและองค์ความรู้ของหน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้เพื่อประกอบการขอใช้งบประมาณแผ่นดิน
หน่วยงานสามารถนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาใช้เพื่อระบุหรือกำหนดระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองและสนับสนุนกระบวนการทำงานของหน่วยงานตามที่ระบุในพันธกิจของหน่วยงาน ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และช่วยสนับสนุนการให้บริการแก่ประชาชน ให้เกิดความสะดวก และรวดเร็ว
โครงการนี้ เป็นการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ที่ออกแบบระบบโดยแพทย์ และพัฒนาโดยคณะทำงานจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สามารถช่วยแพทย์ในห้องฉุกเฉิน ในการคำนวณน้ำเกลือที่จะให้กับผู้ป่วยไฟไหม้ที่เป็นเด็กได้แม่นยำและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบัน แพทย์หลายท่านนำแอปพลิเคชั่นนี้ไปใช้จริงตามแผนกไฟไหม้ของโรงพยาบาลหลายแห่ง
แอปพลิเคชั่นนี้ สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ทั้งในระบบ iOS และ Android หลังจากนี้ จะมีการพัฒนาและวิจัยต่อโดยทีมแพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษาสาขา DVMT จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อทำให้ระบบช่วยคำนวณน้ำเกลือเป็นรายชั่วโมงได้ต่อเนื่อง
การดูแลบุคลากรให้มีความสุขเละผูกพันตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพ คือการค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร ซึ่งเป็นกระบวนการวินิจฉัยก่อนการพัฒนาระดับบุคคล แต่ละองค์การอาจมีแนวทางการดูแลบุคลากรที่ทำอยู่มากมาย หากผู้บริหารทราบได้อย่างไรว่าสิ่งที่ดำเนินการอยู่นั้น ส่งผลทำให้บุคลากรต้องการอยู่เพื่ออุทิศตนให้กับองค์การหรือไม่ อย่างไร อีกทั้งบุคลากรแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างหลากหลายกันอย่างมาก เช่นในโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล สายสนับสนุนการแพทย์ สายสนับสนุนทั่วไป อาจมีความต้องการการดูแลจากโรงพยาบาลแตกต่างกัน
การสำรวจความผูกพันด้วย Emo-meter on-line เป็นเครื่องมือการวินิจฉัย สามารถนำเสนอผลได้ถึง 5 มิติ คือ 1) ภาพรวม 2) Generations หรือช่วงวัย 3) วิชาชีพ 4) พื้นที่ปฏิบัติงาน 5) อื่น ๆ ที่องค์การต้องการศึกษา ดังนั้น ผลการศึกษาจึงสามารถนำไปใช้ในการวางแผนในการดูแลบุคลากรได้ตรงจุด
โรงพยาบาลสามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้ในการดูแลให้บุคลากรทางการแพทย์ ทั้งกลุ่มแพทย์ พยาบาล สายสนับสนุนทางการแพทย์ สายสนับสนุนทั่วไป ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความภาคภูมิใจกับโรงพยาบาล พร้อมที่จะปฏิบัติงาน อุทิศตนให้กับงานและผู้รับบริการ ซึ่งจะทำให้สาธารณสุขของประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประชาชนชาวไทย เป็นที่พึ่งของประเทศได้
โครงการนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาโอกาสของการค้าและการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม จากข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน มีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสัมภาษณ์ผู้มีความรู้จริง วิเคราะห์ข้อมูล และใช้เทคนิค SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์โอกาสและความท้าทาย เพื่อทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทางด้านการค้า การลงทุน และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไป เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อหลายภาคส่วน
ในการดำเนินโครงการ ต้องอาศัยความรู้ภาษาจีนเป็นอย่างมาก เพื่อรวบรวมข้อมูลจากเอกสารจีน และสัมภาษณ์ผู้รู้เรื่องจีนซึ่งส่วนมากสื่อสารด้วยภาษาจีน
ในงานชิ้นนี้ ระบุชัดเจนว่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ หน่วยราชการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงพาณิชย์ รวมถึง รัฐบาล ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายการต่างประเทศ เป็นต้น
โครงการนี้ ได้ทำให้เกิดสื่อที่มีเนื้อหาปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อลดภาวะโรคซึมเศร้าในกลุ่มประชากรดิจิทัลเนทิฟ ในระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 2 นวัตกรรม คือ นวัตกรรมลดโรคซึมเศร้าผ่านสื่อยูทูป เป็นคลิปวีดิโอ 8 คลิป และนวัตกรรมลดโรคซึมเศร้าผ่านสื่อเฟซบุ๊ก เป็นอินโฟกราฟฟิกให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าและการป้องกันโรคซึมเศร้า จำนวน 67 ภาพ นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบค่ายเพื่อพัฒนากลุ่มประชากรดิจิทัลเนทิฟในระดับมหาวิทยาลัยให้รู้จักการเล่าเรื่องผ่านสื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยและสามารถสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะโรคซึมเศร้า ภายใต้ชื่อ "ค่ายเปลี่ยนความเครียด ความเหงา มาเล่าเรื่องกัน"
ผลการดำเนินการนำไปสู่กระบวนการผลักดันผลงานออกสู่การใช้ประโยชน์ในปีต่อไป ได้แก่การจัดกิจกรรมค่ายเพื่อลดโรคซึมเศร้าในลักษณะละครและการแต่งเพลง รวมทั้งการผลักดันนวัตกรรมลดโรคซึมเศร้าและการสร้างเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับจิตวิทยาเพื่อให้บริการตอบปัญหาโรคซึมเศร้าออนไลน์อันจะนำไปสู่การส่งต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าสู่สถานพยาบาลเพิ่มมากขึ้น
งานวิจัยนี้ ได้ดำเนินการประเมินความเหมาะสมและปฏิบัติได้จริงของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ซึ่งจะได้นำผลการศึกษาไปเป็นพื้นฐานหลักการและเหตุผลในการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นกลไกหลักของประเทศในการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐกับประชาชนให้ดีขึ้นต่อไปได้ รวมทั้งได้นำเสนอข้อโต้แย้งทางวิชาการที่คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานได้
แม้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จะมีบทบัญญัติให้มีการปฏิรูปการเมือง แต่การพัฒนาการเมืองจะบังเกิดผลจริงในทางปฏิบัติ ต้องการการเปลี่ยนแปลงในทัศนคติ ความคิด ความเชื่อและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้คนทุกหมู่เหล่า ดังนั้น ในการพัฒนา การเมืองไทย จำเป็นต้องมีชุดความคิดขนาดใหญ่ (Grand Concept) ในการพัฒนาการเมือง เช่น ในการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมือง ควรมีชุดแนวคิดเชิงความมุ่งหมายเกี่ยวกับพรรคการเมือง หรือมีการสร้างความเชื่อร่วมกันในเรื่อง "พรรคการเมืองในอุดมคติ" และควรผลักดันให้สังคมไทยยอมรับให้มีกระบวนการจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในการพัฒนาพรรคการเมืองต้นแบบ
โครงการนี้เป็นการศึกษาองค์ประกอบ ปัจจัยหลัก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องเฉพาะที่ทำให้นักกีฬาเป็นเลิศสู่การได้เหรียญรางวัลจากการแข่งขัน จึงเป็นกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อต่อยอดในการพัฒนากีฬาสู่การพัฒนานักกีฬาเป็นเลิศเพื่อเพิ่มโอกาสให้ได้เหรียญรางวัลจากการแข่งขัน และตอบโจทย์การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และมีเป้าหมาย รวมทั้งเป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า
หน่วยงานสามารถนำผลการวิเคราะห์ปัจจัยเละองค์ประกอบในการพัฒนากีฬา มาจัดทำเป็นเส้นทางการพัฒนานักกีฬาให้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับนานาชาติ จำนวน 6 ชนิดกีฬาตามบริบทของแต่ละสมาคมกีฬา รวมถึงชนิดกีฬาอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันสามารถนำเส้นทางการพัฒนานักกีฬาไปปรับใช้ได้
จุดเด่นของโครงการอยู่ที่การให้ความรู้ในรูปแบบ edutainment ทำให้เด็กนักเรียนเกิดการจดจำความรู้จากการเล่น มีการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ ผ่านอุปกรณ์เกมส์ต่าง ๆ เพื่อการเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กเกี่ยวกับสาธารณภัย ซึ่งเด็กจะต้องจดจำทักษะการเอาตัวรอดหรือสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้เมื่อต้องประสบภัยนั้น ความท้าทายอยู่ที่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเด็กนักเรียนวัยประถมศึกษา อายุเพียง 9-10 ปี ซึ่งจะต้องทำให้เด็กจดจำความรู้ที่ได้รับและนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เมื่อต้องประสบภัยนั้น การให้ความรู้เรื่องการป้องกันสาธารณภัยในรูปแบบที่ผ่านการเล่นทำให้เด็กจดจำได้มากกว่าการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม
การเรียนรู้ในรูปแบบ edutainment มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนในวัยประถมศึกษาเป็นอย่างมาก
ความสำเร็จในการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ คือ การให้ความรู้ด้านสาธารณภัยแก่นักเรียนในวัยประถมศึกษาให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อต้องประสบภัยได้ และนำความรู้ทักษะที่ได้รับไปช่วยเหลือบุคคลในครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ต่อไปให้ ซึ่งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมป้องกันภัย เมื่อเกิดภัยโดยเริ่มจากหน่วยเล็ก ๆ ในสังคม คือครอบครัว ปลูกฝังที่เยาวชน ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในอนาคตต่อไป
โครงการนี้ ทำให้เกิดแพลตฟอร์มเครื่องมือสำหรับติดตามและประเมินผลแผนบูรณาการของหลายหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม
องค์ความรู้จากโครงการนี้ ทำให้เกิดข้อเสนอแนะ แนวทางปรับปรุง และพัฒนาการจัดทำแผนงานบูรณาการด้านการปฏิรูปกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรมในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อสรุปที่สำคัญจากโครงการ คือ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหา เพื่อกำหนดเป้าหมาย/ตัวชี้วัด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขแผนงานให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการของนโยบายหรือแผนระดับชาติ
ปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดยากลำบากในการประกอบอาชีพ คนพิการนับว่าเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางและมีความเสี่ยงสูงจากผลกระทบดังกล่าว มาตรการให้คนพิการสามารถกู้ยิมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในกรณีฉุกเฉินเพื่อประกอบอาชีพในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันและไม่มีดอกเบี้ย เป็นหนึ่งในมาตรการที่อาจจะสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับคนพิการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ รวมทั้งยังอาจจะมีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับมหภาค
การวิเคราะห์ภาพรวมการดำเนินงานของกองทุนในเชิงการเงินประกอบกับการคาดการณ์แนวโน้มในมิติด้านผลลัพธ์ของมาตรการดังกล่าวจะทำให้มาตรการนี้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและยั่งยืน
ทั้งนี้ การกำหนดเกณฑ์และการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อเป็นมิติที่มีความสำคัญมากที่สุด ที่ปรึกษาจึงเสนอให้กองทุนฯ พิจารณาหลักการในการกำหนดเกณฑ์การปล่อยกู้ใน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ ประวัติสินเชื่อในอดีต สถานภาพทางการเงินของผู้กู้ ศักยภาพในการชำระคืนสินเชื่อ และ การมีบุคคลหรือหน่วยงานรับรอง
เครื่องมือการวินิจฉัยองค์การด้วย Nine Cells เป็นเครื่องมือที่มีการใช้ในภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ เพื่อมั่นใจว่าแต่ละองค์การได้ทำการ “วินิจฉัย” ก่อนการพัฒนา อันเป็นแนวทางการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
ทุกองค์การจำเป็นต้องทำแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์การ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการทำ SWOT Analysis แต่เครื่องมือนี้มิได้ตอบโจทย์การพัฒนาองค์การที่ต้องการข้อมูลการรับรู้จากตัวแทนคนภายในองค์การ หรือการพัฒนาภายในองค์การที่ทำให้เกิดความสอดคล้องกันของเป้าหมายองค์การ การออกแบบระบบ โครงสร้างองค์การ และการบริหารจัดการในสามระดับ คือ ระดับองค์การ หน่วยงาน และระดับตัวบุคคล การวินิจฉัยองค์การด้วย Nine Cells จึงเป็นคำตอบในการพัฒนาองค์การ
ปัจจุบัน หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพราะเชื่อมั่นว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะหล่อหลอมให้เยาวชนไทยเติบโตขึ้นมา ด้วยการมีพื้นฐานจิตใจที่มั่นคง ทัศนคติที่ถูกต้อง และทักษะชีวิตที่จำเป็นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โครงการนี้ ทำให้บุคลากรในสถานศึกษาเครือข่ายได้รับการพัฒนาให้เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้องชัดเจน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติภารกิจ โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารทั้ง 4 ด้าน (นโยบาย วิชาการ งบประมาณ และบริหารทั่วไป) มีการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการสอนทุกระดับชั้นและทุกสาระวิชาจนเป็นแบบอย่าง มีบุคลากรที่สามารถเป็นวิทยากร ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู หรือนักเรียนแกนนำ สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาอื่น ๆ ที่สนใจได้ และขยายผลสร้างเครือข่ายให้กับสถานศึกษาอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการนี้ ทำให้เกิดการออกแบบระบบการดำเนินงานใหม่ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานให้คล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ไม่มีความจำเป็นและไม่สร้างคุณค่าให้กับหน่วยงาน (Lean Management) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในบริหารจัดการองค์กรในยุคปัจจุบัน ประกอบกับการออกแบบกระบวนทำงานในรูปแบบใหม่ (Digital Transformation) ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาลดขั้นตอนและเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนและเครือข่ายโทรคมนาคมแบบ 4G หรือ 5G ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้การทำงานเป็นอิสระโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ประจำที่สามารถทำงานได้ตลอด ส่งผลให้การไหลเวียนของเอกสารเป็นได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอเฉพาะเวลาทำการ โดยต้องสนับสนุนยุทธศาสตร์การประหยัดพลังานและทรัพยากร มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการควบคุมคุณภาพ กำกับ และติดตามการดำเนินงานได้แบบอัตโนมัติ
วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ (2) เพื่อรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนเพื่อนำไปกำหนดยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2566 – 2570) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล (3) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2566 – 2570)
โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์แห่งชาติไว้ 4 ด้าน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การกำหนดเรื่องสื่อสารสำคัญประจำปี (Specific core content) เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตของประชาชนและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารประเด็นข้อมูลข่าวสารและปฏิบัติการสารสนเทศต่อต้านข่าวปลอม (Fake news) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างเครือข่ายและช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนงานประชาสัมพันธ์ของชาติ และ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศเพื่อสนับสนุนการสื่อสารในยุคดิจิทัล
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ สามารถนำยุทธศาสตร์ที่ได้ไปสู่การปฏิบัติและนำองค์ความรู้ใหม่ที่ศึกษาไปปรับใช้ในการพัฒนาการทำงานและการวางแผน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และจัดทำยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
ความน่าสนใจของโครงการ คือ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อยกระดับการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐให้มุ่งไปสู่องค์การที่มีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนให้ส่วนราชการในการสมัครขอรับรางวัลเลิศรัฐ อีกทั้งดำเนินการตรวจประเมินและมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ.2562 อันนำไปสู่การขยายผลการดำเนินการที่ดีให้แก่หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ในการยกระดับการพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องต่อไป
โครงการนี้มีความสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 หลักการและเจตนารมณ์ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 นโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 นโยบายที่ 10 การส่งเสริม การบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุกจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีขนาดเหมาะสมกับบทบาทภารกิจ มีสมรรถนะสูง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีธรรมาภิบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทย ย่อมจะทำให้หน่วยงานเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น อันส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ
ซี่งส่วนของราชการนั้น ก็สามารถยกระดับและพัฒนาองค์การไปสู่องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง รวมถึงศักยภาพในการให้บริการของหน่วยงานรัฐสูงขึ้น อีกทั้งส่วนราชการ จังหวัด และภาคส่วนอื่น ๆ ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
เป็นโครงการที่บูรณาการระหว่างแนวคิดทฤษฎี K-A-P (Knowledge-Attitude-Practice) และตัวชี้วัดความโปร่งใสขององค์กร Transparency International นำมาวางแผนในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ตรงเป้าหมายและมุ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง โดยออกแบบกิจกรรมด้วยการเริ่มจากการให้ความรู้ (Knowledge) เป็นพื้นฐานด้วยการอบรม ให้ข้อมูล จากนั้นจึงปลูกฝังทัศนคติ (Attitude) ด้วยการบรรยายที่กระตุ้นจิตสำนึก แล้วนำผู้เข้าร่วมโครงการทำกิจกรรมนอกสถานที่ ให้เกิดพฤติกรรม (Practice)
ความสำเร็จของโครงการ คือ การขับเคลื่อนสร้างความตระหนักในการต่อต้านการทุจริตในกลุ่มข้าราชการและสื่อมวลชน โดยผลการประเมินของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในระดับมากที่สุด และมีค่านิยมร่วมต้านทุจริตและมีจิตสำนึกสาธารณะในระดับมาก นอกจากนี้ ผลการประเมินยังพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมได้ ทำให้คาดหวังได้ว่าจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ตามทฤษฎี K-A-P
โครงการนี้ เป็นการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อการประปาส่วนภูมิภาค ประจำปี 2562 ทั้งในภาพรวมองค์กร กลุ่มตำแหน่ง ช่วงปีเกิด และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในความพึงพอใจ และความผูกพันที่พนักงานมีต่อหน่วยงานในองค์ประกอบด้านต่าง ๆ
โดยมีการนำเอาทฤษฎี และองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ การบริหารองค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา และเป็นข้อเสนอแนะให้องค์กร ประกอบกับหน่วยงานที่ทำการศึกษาเป็นรัฐวิสาหกิจที่สำคัญของประเทศ หน่วยงานนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ย่อมจะทำให้หน่วยงานเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น อันส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ รวมถึงมีแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางของระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SEPA)
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือ ได้ผลการศึกษาความพึงพอใจ ความผูกพันที่พนักงานมีต่อการประปาส่วนภูมิภาค ได้รับทราบประเด็นความไม่พึงพอใจ ภาพลักษณ์ของหน่วยงานในมุมมองของพนักงาน รวมถึงผลการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะที่หน่วยงานควรจะปรับปรุงเพื่อให้พนักงานเกิดความพึงพอใจและความผูกพันกับหน่วยงานมากขึ้น
จากการเรียนรู้และทดลองผ่านกระบวน Design Thinking ทำให้เกิดต้นแบบนวัตกรรมงานบริการภาครัฐเรียกว่า “โครงการอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME EXPORT ACCELERATOR: S-E-A)” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในฐานะทีมที่ปรึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) และ 4 หน่วยงานจากกระทรวงพาณิชย์(สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างรวดเร็ว โดยมีแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการในการทำงานระหว่างหน่วยงาน และมีการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างกัน จนเกิดเป็นนวัตกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงกระบวนการ(Process Interaction Innovation) ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสะดวกของผู้ประกอบการในการมาติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก โดยลดขั้นตอนในการติดต่อของผู้ประกอบการ และยังเป็นการลดขั้นตอนในการทำงานของแต่ละหน่วยงาน แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากยิ่งขึ้น
ความสำเร็จของโครงการ คือ การปรับปรุงกระบวนการการทำงานระหว่างหน่วยงานจะส่งผลให้ลดระยะเวลาในการติดต่อประสานงาน รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งทำให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจสอบข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพิ่มขึ้น
จุดเด่นของโครงการเป็นกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถในการทำหน้าที่ดูแลผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเหมืองแร่ และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้ทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักต่อบทบาทของตนเพิ่มขึ้น มีความสามารถในการดูแลผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพิ่มมากขึ้น และมีขีดความสามารถในการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ ตามแนวทางสานพลังประชารัฐ
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ คือเครือข่ายภาคประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี นครศรีธรรมราช ตาก ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี ตาก และเจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ทั่วประเทศ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่
โครงการนี้เป็นโครงการที่จัดทำเพื่อพัฒนานักเรียนทุนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกภูมิภาค ภายใต้การบริหารของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จิตอาสา ได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นผู้นำเยาวชนที่ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต สำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ประกอบวิชาชีพที่สุจริต และร่วมสร้างประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม
ความสำเร็จของโครงการ คือ นักเรียนทุนเศรษฐกิจพอเพียงสามารถเป็นผู้นำในการเผยแพร่ และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันให้แก่เยาวชนอื่น ๆ โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทาง social media เพื่อชักชวนให้ผู้อื่นสนใจและเข้าใจการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการรักษาสิ่งแวดล้อม เห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์ชาติและสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามต่อไป รวมถึงจัดค่ายนักเรียนแกนนำ “การเงินพอเพียง” ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาพอเพียงเครือข่าย และผลิตสื่อเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไปให้ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักแห่งความพอเพียง
ข้อสรุปที่สำคัญของโครงการ ทำให้นักเรียนทุน ฯ ได้มีการพัฒนาทางความคิด ทักษะการเป็นผู้นำและการเป็นวิทยากรเผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม จนสามารถเป็นแบบอย่างของ “เยาวชนพอเพียง”
จุดเด่นของโครงการ เป็นการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของการประปานครหลวง ปี 2562 ในทุกประเภทบริการและทุกกลุ่มลูกค้า ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีการศึกษาสำรวจความพึงพอใจ รวมถึงความไม่พึงพอใจ ความต้องการและความคาดหวัง ที่ผู้ใช้บริการมีต่อหน่วยงานในด้านต่าง ๆ รวมถึงการเปรียบเทียบผลสำรวจกับปีที่ผ่านมา
โดยมีการนำเอาทฤษฎี และองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ การบริหารองค์กร ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา และเป็นข้อเสนอแนะให้กับองค์กร ประกอบกับหน่วยงานที่ทำการศึกษาเป็นรัฐวิสาหกิจที่สำคัญของประเทศ หน่วยงาน สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ย่อมทำให้หน่วยงานเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูงขึ้น อันส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ
ข้อสรุปที่สำคัญ คือ ได้ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการประปานครหลวง ได้รับทราบประเด็นความไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง รวมถึงการรับรู้และทัศนคติของผู้ใช้บริการ รวมถึงภาพลักษณ์ของหน่วยงานในมุมมองของผู้ใช้บริการ ข้อเสนอแนะที่หน่วยงานควรจะปรับปรุงเพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจและตอบสนองตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการหรือประชาชนมากขึ้น
เครื่องมือในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีส่วนช่วยพัฒนาและรักษากำลังคนคุณภาพ คือระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เนื่องจากระบบพี่เลี้ยงเป็นกลไกสำคัญในการดูแลให้กำลังคนคุณภาพที่เป็นข้าราชการบรรจุใหม่เข้ามาปฏิบัติงานราชการได้อย่างมีความสุข สามารถปรับตัวให้เข้ากับองค์กรเพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และวัฒนธรรมของระบบราชการได้
โดยสำนักงาน ก.พ. ได้พัฒนาระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) ให้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาทั้งระดับตัวบุคคลและองค์กรที่เน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (Developmental Partnership) เป็นกระบวนการถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัว แบบระยะยาวจากเพื่อนร่วมงานที่มีความรู้ประสบการณ์และความเข้าใจในงาน และมุมมองส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้อีกฝ่ายมีความพร้อมในการทำงาน พร้อมที่จะเจริญเติบโตและมีความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ#ศูนย์บริการวิชาการ
ข้อสรุปของการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสำหรับกำลังคนคุณภาพภาครัฐ คือ การสร้างระบบพี่เลี้ยงในส่วนราชการนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และการมีระบบพี่เลี้ยงเป็นกระบวนการสร้างและรักษากลุ่มคนที่มีศักยภาพในการทำงานสูงและรักษาคนเก่งคนดีไว้ในองค์กร โดยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้กล้าแสดงความคิดเห็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พร้อมรับความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหน่วยงานทั้งราชการ องค์กรเอกชน ต่างก็มีการริเริ่มนำระบบพี่เลี้ยงมาปรับใช้ และพยายามปรับระบบดังกล่าวให้มีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการนำระบบพี่เลี้ยงไปปรับใช้และเกิดประโยชน์ต่อทั้งองค์กรและบุคลากรในองค์กรมากยิ่งขึ้น
โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำนักงบประมาณมีแบบจำลองทางเศรษฐมิติที่สามารถใช้วิเคราะห์ผลกระทบจากการจัดสรรงบประมาณในมิติต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่สร้างขึ้นบนหลักวิชาการที่เหมาะสม งานศึกษานี้ จึงได้พัฒนาแบบจำลองเศรษฐมิติขึ้น 3 แบบจำลอง ได้แก่ (1) แบบจำลองผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศตามศักยภาพ (2) แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค และ (3) แบบจำลองการคลังมหภาค
จุดเด่นของโครงการ คือ แบบจำลองที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้ศึกษาถึงผลกระทบของการจัดสรรงบประมาณต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และการประมาณการกรอบการใช้จ่ายระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยมีการพิจารณาผลกระทบทางการคลังจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอายุประชากร ซึ่งช่วยเพิ่มมิติของการวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล ให้มีความครอบคลุมถึงผลกระทบในระยะยาว รวมถึงสามารถให้ประมาณการถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรของประเทศไทยในอนาคตได้
โครงการนี้ เป็นโครงการเชิงวิชาการและปฏิบัติการ ซึ่งต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจต่อสถานการณ์ภายในจีนและไทย และต้องมีทักษะการแปลภาษาไทย - จีน - อังกฤษ
โดยองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่คือ หนังสือคู่มือการลงทุนในสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ได้มาจากการวิจัย ค้นคว้า อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จีนมีศักยภาพมาลงทุนในไทย
ความสำเร็จของโครงการ คือ 1) สามารถปรับปรุงเนื้อหาในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้มีความทันสมัย ครอบคลุมเนื้อหาเศรษฐกิจ การค้า ที่เกี่ยวกับจีนมากขึ้น 2) เกิด Newsletter ฉบับภาษาจีน 5 ฉบับ ซึ่งได้แปลและเรียบเรียงนโยบายส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเผยแพร่ให้นักลงทุนจีนรับทราบ 3) เกิดคู่มือการลงทุนในสาธารณรัฐประชาชนจีน และ 4) มีการศึกษาอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนในไทยมากยิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการ เป็นการเตรียมผู้บริหารรุ่นใหม่ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน จะมีแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ที่ชัดเจน เพื่อใช้ในการคัดเลือก พัฒนา ผู้บริหารรุ่นใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย Job Description และ Competency ที่จำเป็นในแต่ละกลุ่มงาน, คู่มือระบบ Talent Development, คู่มือแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan), คู่มือรายละเอียดเนื้อหา เครื่องมือ และวิธีการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Development Plan)
ความสำเร็จของโครงการ คือ การได้ผู้นำ ผู้บริหารในกิจการทางสังคมรุ่นใหม่ๆ รวมทั้ง แผนการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปคัดเลือก และพัฒนาบุคลากรของกรมกิจการเด็กและเยาวชน ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ สังคม และองค์กรได้ต่อไป
โครงการนี้ เป็นการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจการกีฬาของประเทศไทยฉบับแรก ซึ่งเป็นแผนที่มุ่งสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมกีฬา สร้างอรรถประโยชน์จากกีฬา และกระจายการพัฒนาไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านการสร้างการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
ความสำเร็จของโครงการ คือ มีผลการประเมินอุตสาหกรรมกีฬาของประเทศไทย ที่สามารถนำไปพัฒนาเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและแก้ปัญหาของอุตสาหกรรมการกีฬาไทยที่กำลังเผชิญอยู่ อันจะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยมีศักยภาพด้านการแข่งขันกีฬา สินค้ากีฬา และการท่องเที่ยวเชิงกีฬาได้ รวมทั้งได้แนวทางการพัฒนาเมืองกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว อันจะสามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนในพื้นที่ และดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่เข้าสู่พื้นที่
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างหรือพัฒนาธุรกิจ หลักสำคัญคือการสร้างระบบนิเวศน์ (Ecosystem) สำหรับผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship - IDE) ให้เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ (Node) และสามารถใช้ระบบนิเวศ์นี้เป็นกลไกการเรียนรู้ พัฒนา เพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของผู้ประกอบการขึ้นอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผล
ความสำเร็จของโครงการ คือ เกิดความเชื่อมโยงและการร่วมมือกันของหน่วยงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัยระหว่างมหาวิทยาลัยอื่น ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และชุมชน ในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดความเข้มแข็งของกลไกในการพัฒนาผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการ เป็นการจัดทำแผนกลยุทธ์ความยั่งยืนอย่างเต็มรูปแบบขององค์กรรัฐวิสาหกิจชั้นนำ ตั้งแต่การออกแบบระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการนี้ และทำการศึกษา สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับจนถึงการกำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัด ไปจนถึงการสื่อสารให้สามารถดำเนินการได้ในทันทีอย่างต่อเนื่อง อย่างบูรณาการเข้ากับแผนวิสาหกิจขององค์กร
ความสำเร็จของโครงการ คือ การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าและรถรางของประเทศไทย ได้นำแผนไปใช้เชิงปฏิบัติการได้ทันทีอย่างเชื่อมโยงกับการดำเนินการเดิมในลักษณะต่อยอดอย่างไม่ทับซ้อน ทำให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้การดำเนินการของ รฟม. เป็นไปอย่างยั่งยืน
รายงานการศึกษาฉบับนี้ ได้นำเสนอตัวอย่างการจัดทำรายงานการคลังภาพรวมและในระดับจังหวัด ทั้งในรูปแบบรายงานและในรูปแบบของเว็บไซต์ โดยให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น รวมถึงเพื่อเป็นแนวทางที่กรมบัญชีกลางสามารถพิจารณานำมาปรับใช้ต่อไปสำหรับการจัดทำรายงานการคลังกลางปี (Mid-Year Review) และรายงานการคลังสิ้นปี (Year-End Report)
หลักการสำคัญของระบบฐานข้อมูลที่ดีที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ คือ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ เพียงพอ และทันสมัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการคลังของประเทศที่รวดเร็ว ทำให้ระบบฐานข้อมูลไม่สามารถหยุดนิ่งได้ (Static) แต่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามพลวัตร (Dynamic) ที่เกิดขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า การจัดเก็บและรายงานข้อมูลการเงินการคลังโดยระบบฐานข้อมูลของกรมบัญชีกลางสามารถแสดงถึงสถานะทางการคลัง และการดำเนินมาตรการทางการคลังได้ดี รวมทั้งสามารถแสดงผลการดำเนินงานตามมาตรฐานทางการคลัง และนำเสนอผลต่อสาธารณะเพื่อติดตามตรวจสอบการดำเนินมาตรการการคลังของภาครัฐได้ดียิ่งขึ้น
รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนประจำปี 2560 จัดทำขึ้นตามบทบัญญัติที่ปรากฏใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มีวัตถุประสงค์สำคัญในการรวบรวมข้อมูลระดับชาติของสถานการณ์เด็กและเยาวชนทุกช่วงวัย โดยรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2560
ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน มีตั้งแต่ในระดับนโยบายไปจนถึงระดับกิจกรรมโครงการ ซึ่งทำให้ทราบถึงสิ่งที่ควรพัฒนาปรับปรุงต่อไปอันเป็นผลจากการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของโครงการ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนฯ ไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการ์ในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งหน่วยงานอย่างสภาเด็กและเยาวชน ก็ได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการวางแผน จัดระบบฐานข้อมูล ออกระเบียบหลักเกณฑ์ ตลอดจนบริหารจัดการงบประมาณให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
SEA (Strategic Environmental Assessment) หรือ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงระบบ/กระบวนการที่ใช้สำหรับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของนโยบาย แผน หรือแผนงาน รวมทั้งข้อเสนอทางเลือก ซึ่งจัดทำเป็นรายงานเสนอผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ลักษณะสำคัญของ SEA คือ 1) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการดำเนินนโยบาย แผน หรือแผนงานนั้น ๆ 2) เป็นกระบวนการที่มีการดำเนินการก่อนที่จะมีการตัดสินใจในนโยบาย แผน หรือแผนงานนั้น ๆ จึงทำให้การพิจารณา SEA มีความยืดหยุ่นสูง 3) เป็นกระบวนการที่มีการพิจารณาและเสนอแนะทางเลือก รวมทั้งคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในแต่ละทางเลือกนั้น ๆ เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้เกิดอัตถประโยชน์สูงสุดและมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด 4) สาธารณชนสามารถมีส่วนร่วม โดยลักษณะการมีส่วนร่วมอาจดำเนินการได้หลายวิธี เช่น การปรึกษาสาธารณะ การร่วมให้ความเห็นหรือการพิจารณาทางเลือก ให้ครอบคลุม 2 เสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ ด้านเศรษฐกิจ และสังคม
การดำเนินการเพื่อพัฒนากระบวนการ SEA ในประเทศไทยได้มีการดำเนินการในภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะ กรณีศึกษาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายฝั่งทะเลภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และภูเก็ต และในปัจจุบันโครงการขนาดใหญ่ของหลายหน่วยงานได้เริ่มทำ SEA ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อวาง แผนโครงการ รวมทั้งปรับปรุงระบบ SEA ให้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประเทศที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
โครงการสัมมนาระดมสมองเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยสู่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของจีน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อระดมสมองจากกลุ่มผู้ผลิตสินค้าภูมิปัญญาไทย เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ท้องถิ่นและนักวิชาการ และ 2) เพื่อทราบถึงนโยบายของผู้บริหารบริษัทอาลีบาบาและแนวทางที่จะส่งเสริมประชาชนไทยให้สามารถดำเนินการค้าขายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ผลสำเร็จจากการศึกษา ทำให้ทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กองการต่างประเทศ (วช.) และศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย - จีน ควรสร้างความร่วมมือกับคลังสมองของภาคเอกชน ควรส่งเสริมและร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แก่ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้าภูมิปัญญา และบุคลากรของส่วนราชการและท้องถิ่น ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย – จีน ควรจะมีบทบาทเป็นหน่วยงานให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ส่วนราชการในระดับจังหวัดและท้องถิ่น เพื่อการแสวงหาโอกาสความร่วมมือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและทัศนคติต่อการออมเพื่อเกษียณอายุของแรงงานในสถานประกอบการที่มีรายได้น้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อผลการตัดสินใจจัดสรรรายได้เพื่อการบริโภคและการออมของพนักงานสายปฏิบัติการทั่วไปที่มีการศึกษาระดับปวช หรือต่ำกว่า ซึ่งมีอายุไม่เกิน 40 ปี มีเงินเดือนไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน เพื่อระบุปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการออมเพื่อชราภาพของลูกจ้างเอกชนที่มีรายได้น้อยและแสวงหาแนวทางส่งเสริมการออมเพื่อชราภาพของกลุ่มเป้าหมาย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในเบื้องต้น พบว่า อุปสรรคต่อการออมเพื่อชราภาพของแรงงานสายปฏิบัติการที่สำคัญ คือ (1) การมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การครองชีพ (2) ภาระหนี้สินของแรงงานและ (3) ภาระการดูแลสมาชิกในครอบครัว ขณะเดียวกันการสำรวจพบว่ากลไกของสหกรณ์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและการส่งเสริมให้มีการออมเพิ่มเมื่อแรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น จะช่วยให้แรงงานสามารถออมเงินเพื่อชราภาพเพิ่มขึ้นได้
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมิณผลโครงการลงมือทำ ใช้ทฤษฎีและการถอดแบบองค์ความรู้จากการอบรมหลักสูตรต่างๆที่ใกล้เคียง มีการประสานงานที่ไม่แยกฝ่ายกันระหว่างหน่วยราชการหลายส่วนเพื่อสร้างการจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเรียนรู้การดำเนินการในการอบรมจากมุมมองทั้งในและต่างประเทศ
ผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบว่า การจัดโครงการฝึกอบรมควรมีการประสานงานจากหน่วยงานที่หลากหลายและสอดคล้องกันจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นจากการบูรณาการทั้งองค์ความรู้และบุคลากรจากแต่ละหน่วยงานในการทำงานให้สำเร็จได้ รวมถึงต้องมีการจัดการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดำเนินการอย่างรัดกุม และมีทักษะในเรื่องที่จะลงมือปฏิบัติเพียงพอต่อการปฏิบัติจริงได้
ความสำเร็จของโครงการ คือ การใช้องค์ความรู้ในการจัดรูปแบบการฝึกอบรมแบบบูรณาการหลายหน่วยงาน การเรียนรู้ข้อดีข้อด้อยของการจัดโครงการเฉพาะกิจ โดยเฉพาะการจัดโครงการฝึกอบรมแบบลงมือปฏิบัติจริง และเจาะลึกลงไปในด้านการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กในธุรกิจท่องเที่ยว
โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง CLMV เป็นโครงการศึกษาเพื่อส่งเสริมในด้านความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแสวงหาเส้นทางใหม่ๆ ให้เกิดแนวทางการพัฒนาและประชาสัมพันธ์ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างกันด้วยการนำหน่วยงานภาครัฐที่เป็นภาคีความร่วมมือของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวของไทยพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอกิจกรรมใหม่ๆระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง CLMV จึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการสร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภาพรวมตามนโยบายเร่งกระตุ้นการท่องเที่ยวในปีท่องเที่ยววิถีไทย รวมถึงส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเมืองชายแดนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้ต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม
โครงการนี้ประสบความสำเร็จในการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ เกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสังคมและประชาชนทั่วไป ตามเป้าหมายของผลลัพธ์ (Outcome) และตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ 1) ประชุมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย – CLMV 2) หนังสือเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไทย - CLMV 3) แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง - CLMV
โครงการสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ในการยับยั้งและป้องกันการเกิดทุจริตที่จะเกิดขึ้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เป็นการประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ในด้านการปราบปรามการทุจริต การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ด้านการป้องกันการทุจริตในเชิงรุกของสำนักงาน ป.ป.ช.
โดยการนำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ การรับรู้ หลักธรรมาภิบาล ไปประยุกต์ใช้กับการศึกษา นำไปสู่ผลการศึกษาที่มีความถูกต้องสมบูรณ์และมีทฤษฎีองค์ความรู้รองรับในผลการศึกษา ทำให้สำนักงาน ป.ป.ช. มีฐานข้อมูลความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน และการรับรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. และสามารถนำข้อมูลข้อเสนอแนะที่ได้รับไปประกอบการพิจารณาการปรับปรุงการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากยิ่งขึ้น
โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลกรมการขนส่งทางบก เป็นการปรับเปลี่ยนบทบาทของส่วนราชการระดับ “กรม” จากรูปแบบการบริหารงานที่มุ่งเน้นการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ และการให้บริการ ไปสู่การขับเคลื่อนภารกิจขององค์การสู่การยกระดับเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม ภายใต้วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ การสร้างและพัฒนา “คน” ให้มีสมรรถนะทั้งความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่ตอบสนองต่อการเสริมสร้างความปลอดภัยของระบบการขนส่งทางถนน มีการควบคุมกำกับที่ได้มาตรฐานระดับสากลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับขับเคลื่อนการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน รวมทั้งผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงการบริการและพัฒนาบุคลากรจะส่งผลให้กรมการขนส่งทางบกจะกลายเป็น “ต้นแบบขององค์การแห่งนวัตกรรมภาครัฐของไทย”
ผลการศึกษาจากการวิจัยพบว่า การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ตามแผนยุทธศาสตร์กรมการขนส่งทางบก สอดรับกับแผนงานระดับกระทรวงระดับชาติและระดับสากล ตลอดจนหน่วยงานด้านการกำกับดูแลระบบการขนส่งทางถนนของประเทศที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดี รวมถึงสอดคล้องกับผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และพบว่าในปัจจุบันยุทธศาสตร์ทั้งหมดสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของกรมการขนส่งทางบก เพียงแต่ที่ผ่านมายังไม่มีการขับเคลื่อนในเชิงรูปธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์
โครงการประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ เป็นการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ ในส่วนของกรมการพัฒนาชุมชน มีการดำเนินงานเป็น 3 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 เพิ่มศักยภาพภาคอุตสาหกรรม การค้าและการลงทุน แนวทางที่ 2 เพิ่มศักยภาพภาคการท่องเที่ยวและบริการ แนวทางที่ 3 พัฒนาด้านสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม สอดรับกับแผนงานบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ
ผลการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้การดำเนินโครงการบรรลุและไม่บรรลุผลสำเร็จจากการประเมินปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อโครงการ ตั้งแต่เงื่อนไขโครงการจนถึงผลผลิตที่เกิดขึ้น จากโครงการ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้การดำเนินการไปสู่ผลสำเร็จของโครงการทั้ง 3 แนวทาง ประกอบด้วยปัจจัย ดังนี้ 1) ด้านนโยบาย ความชัดเจนของนโยบายที่มาจากส่วนกลาง รวมถึงการมีแนวทางหรือคู่มือปฏิบัติที่เข้าใจได้ง่าย ทำให้ผู้รับผิดชอบ/ผู้ปฏิบัติบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ 2) ด้านกำลังคน ความเพียงพอของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ส่งผลต่อการบรรลุผลสำเร็จของโครงการ 3) ด้านประชาชน การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับโครงการ 4) ด้านเครือข่ายสนับสนุน หากโครงการได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ มาก โอกาสความสำเร็จของโครงการก็ยิ่งมากขึ้น
โครงการนี้เป็นโครงการออกแบบระบบวิเคราะห์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดราคาอ้างอิง และการเปิดเผยข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างเพื่อรองรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยกรมบัญชีกลาง ได้ลงนามในสัญญาเพื่อพัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบออนไลน์และเรียลไทม์รวมศูนย์ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วนของภาคประชาชน และรองรับการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในแง่ผู้ประกอบการกับภาครัฐ และการปฏิบัติงานของส่วนราชการ
ความสำเร็จของโครงการในครั้งนี้ เพื่อสะท้อนสถานภาพในแง่มุมต่างๆเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ มูลค่าสัญญาเมื่อเปรียบเทียบกับราคากลางและโครงสร้างตลาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ในระดับภาพรวมของประเทศลงมาจนถึงหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง และในระดับผู้ประกอบการตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ภาคประชาชนได้ทราบถึงระดับการแข่งขันในการจัดซื้อจัดจ้างและผู้ประกอบการรายใหญ่ในระดับหน่วยงานและระดับพื้นที่ ระบบการเปิดเผยข้อมูลของกรมบัญชีกลางที่พัฒนาขึ้นสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบไอโอเอส (IOS) หรือแอนดรอยด์ (Android) โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน
โครงการศึกษาและทบทวนบทบาทภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เป็นการรับทราบมุมมองและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสำนักงาน ป.ป.ส. การวิเคราะห์การดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของสำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานด้านยาเสพติดของประเทศ และการวิเคราะห์บทบาทของหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดในบริบทสากล
ผลของการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย มุมมองและความคาดหวังต่อการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของสำนักงาน ป.ป.ส. ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงาน เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทแวดล้อมและสถานการณ์
ยาเสพติดในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างเป็นผล
ความสำเร็จจากโครงการ (1) เมื่อพิจารณาบทบาทของสำนักงาน ป.ป.ส. พบว่า มี 3 บทบาทหลัก ได้แก่ บทบาทของหน่วยงานด้านนโยบาย บทบาทของหน่วยงานด้านอำนวยการและประสานงาน และบทบาทของหน่วยปฏิบัติ (2) สำนักงาน ป.ป.ส. ยังไม่สามารถแสดงบทบาทในฐานะหน่วยนำนโยบายได้อย่างชัดเจน รวมทั้งการจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ (3) การแสดงบทบาทในการมีกลไกหรือแนวทางสร้างความเข้าใจและยอมรับในแผนยุทธศาสตร์ด้านยาเสพติดให้แก่หน่วยงานภาคีต่างๆไม่เพียงพอ (4) หน่วยปฏิบัติของสำนักงาน ป.ป.ส. มักแยกส่วนจากหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ส่งผลให้ไม่เกิดการประสานสอดคล้องกับหน่วยงานอื่น (5) การดำเนินงานตามบทบาทอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดที่สำคัญ ส่งผลให้ไม่สามารถเป็นไปตามบทบาทหรือภารกิจที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (6) ส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่คาดหวังให้สำนักงาน ป.ป.ส. กำหนดสถานะ กลไกการทำงานและบทบาทของหน่วยงานให้ชัดเจน และสื่อสารให้บุคลากรของสำนักงานรับรู้และดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน
การศึกษาความเหมาะสม ในการจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ ซึ่งมีการศึกษาและวิเคราะห์ทั้งทางด้านการกีฬา เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงผลกระทบและประโยชน์ที่เกิดขึ้นของโครงการ เป็นการศึกษาแนวทางในการส่งเสริมให้นักกีฬาของไทยให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยหน่วยงานสามารถนำผลการศึกษาที่ได้รับในครั้งนี้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการในการจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาให้เป็นสถานที่หลักในการฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬาศักยภาพสูง ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาไทย เพื่อสร้างผลงานระดับนานาชาติได้ตามเป้าหมายที่กำหนดต่อไป
ความสำเร็จจากการศึกษาจะทำให้หน่วยงานมีผลการศึกษาเพื่อใช้ในการจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติที่จะสามารถนำไปต่อยอดในการจัดสร้างศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติที่ได้มาตรฐาน และพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นศูนย์กลางการฝึกซ้อมกีฬา (Sport Training Hub) ของนักกีฬาไทย
โครงการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานต่อการประปาส่วนภูมิภาค เป็นการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อการประปาส่วนภูมิภาค ประจำปี 2561ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าในในความพึงพอใจ และความผูกพันที่พนักงานมีต่อหน่วยงานในองค์ประกอบด้านต่างๆ
โดยการนำเอาทฤษฎี และองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ การบริหารองค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา และเป็นข้อเสนอแนะให้กับองค์กร ประกอบกับหน่วยงานที่ทำการศึกษาเป็นรัฐวิสาหกิจที่สำคัญของประเทศ หน่วยงานนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ย่อมจะทำให้หน่วยงานเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น อันส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ
ความสำเร็จจากการศึกษาจะทำให้ทราบถึงความพึงพอใจ ความผูกพันที่พนักงานมีต่อการประปาภูมิภาค ได้รับทราบประเด็นความไม่พึงพอใจ ภาพลักษณ์ของหน่วยงานในมุมมองของพนักงาน ข้อเสนอแนะที่หน่วยงานควรจะปรับปรุงเพื่อให้พนักงานเกิดความพอใจและความผูกพันกับหน่วยงานมากขึ้น
โครงการการศึกษาและจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อใช้ในการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์สำหรับหน่วยงานฝึกอบรมที่ขอความเห็นชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561ได้มีการออกแบบหลักสูตร เพื่อใช้ในการฝึกอบรมให้แก่มัคคุเทศก์ โดยคำนึงถึงภาวการณ์ด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบันทั้งจากภายในประเทศและภายนอกประเทศรวมถึงภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนแนวนโยบายแห่งรัฐด้านการท่องเที่ยวด้วย ในกระบวนการศึกษาและออกแบบหลักสูตรมีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น บุคลากรที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยว และมัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว องค์กร/สมาคมด้านการท่องเที่ยว และมัคคุเทศก์ที่อยู่ในฐานะผู้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและในฐานะผู้ที่ต้องเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร
ประโยชน์ทางตรง คือ การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะมัคคุเทศก์ โดยมีหลักสูตรการฝึกอบรมที่หลากหลาย ครอบคลุมความรู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นสำหรับมัคคุเทศก์ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้ารับฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถและเพิ่มศักยภาพของตนเอง ซึ่งความสำเร็จของโครงการนี้เกิดจากการออกแบบกิจกรรมที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ โดยเน้นการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
โครงการการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาระบบ การบริหารจัดการ การเงินและการบัญชีสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เป็นโครงการที่สนับสนุนให้สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยมีระบบการดำเนินงานทางด้านบัญชีและการเงินที่ดี สามารถสนับสนุนการดำเนินการจัดสรรเงินอุดหนุนสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลสำเร็จจากการศึกษา คือ สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยมีระบบการบริหารจัดการด้านบัญชีการเงินที่เป็นกรอบมาตรฐาน รวมถึงมีระบบและวิธีการประเมินทางด้านบัญชีการเงินโดยมีเกณฑ์วัดที่เป็นมาตรฐานตามการแบ่งระดับสมาคมและการให้คะแนนที่เหมาะสม
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ นโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ : กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ เป็นโครงการที่ศึกษาข้อเท็จจริง สถานการณ์ นโยบาย กฎหมาย มาตรการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุของไทยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติ เปรียบเทียบกับพันธกรณีระหว่างประเทศไทยที่เป็นภาคีและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิเคราะห์ช่องว่างในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุในกรณีการเลือกปฏิบัติ และจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายในการแก้ไขปัญหาและ/หรือมาตรการเชิงประจักษ์ ให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ความสำเร็จจากการศึกษา ทำให้เข้าใจสภาพการเลือกปฏิบัติได้อย่างชัดเจน ได้ความรู้ในด้านของกฎหมาย นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในประเทศไทยสำหรับเป็นข้อมูลสนับสนุนการทำงานตามกฎหมายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน การเฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และการเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้สูงอายุแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการรองรับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุของสหประชาชาติในอนาคต นอกจากนั้นองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษายังสามารถนำไปต่อยอดการทำวิจัยหรือการเรียนการสอนเกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุไทย เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป
โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคด้วยเทคนิคศูนย์การประเมิน (Assessment Center) ประจำปี 2561 เป็นการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งแก่ผู้บริหารระดับสูงเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นความท้าทายทั้งต่อองค์กรและผู้บริหาร เนื่องจากในอดีตวัฒนธรรมองค์กรจะพิจารณาความสามารถของผู้บริหารในการขึ้นดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น แต่ Assessment Center เป็นการพิจารณาศักยภาพ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ตัวผู้บริหารไม่เคยมองเห็น โดยการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งให้ผู้บริหารระดับสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจกระบวนการและผลของ Assessment Center เนื่องจากการใช้ข้อมูลต้องดำเนินการด้วยจริยธรรม และทราบวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ
ผลสำเร็จจากการศึกษา คือ ได้รูปแบบการดำเนินการที่สร้างความเข้าใจให้กับตัวผู้เข้าโครงการ และข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อการรับรู้ตนเอง โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Triangular Analysis อันทำให้องค์กรได้ใช้ข้อมูลประกอบการพัฒนาในการค้นหาผู้สืบทอดตำแหน่งได้อย่างเหมาะสม
โครงการจ้างที่ปรึกษาการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ระหว่างกิจการขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัย เป็นการพัฒนาขีดความสามารถ ศักยภาพของผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ ด้านการตลาด ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน และด้านการจัดการ โดยมีมหาวิทยาลัยและกิจการขนาดใหญ่ร่วมกันเป็นพี่เลี้ยง เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา อีกทั้งพัฒนา และประยุกต์ใช้ความรู้ทางการบริหารธุรกิจ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมเชื่อมโยงการปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจมาสู่ชั้นเรียน
ความสำเร็จของโครงการนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เดลล์คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งช่วยดำเนินกิจกรรมส่งเสริมศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ ระหว่างกิจการขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่เร่งการเติบโตทางธุรกิจและเป็นการสร้างช่องทางให้กิจการขนาดใหญ่สามารถร่วมมือทางธุรกิจกับธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ได้
การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการประปานครหลวง ปีงบประมาณ 2561 ในทุกประเภทบริการและทุกกลุ่มลูกค้าทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในวิธีการศึกษาสำรวจความพึงพอใจ รวมถึงความไม่พึงพอใจ ความต้องการและความคาดหวัง ที่ผู้ใช้บริการมีต่อหน่วยงานในด้านต่างๆ
โดยการนำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ การบริหารองค์กร ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา ให้กับองค์กร ประกอบกับหน่วยงานที่ทำการศึกษาเป็นรัฐวิสาหกิจที่สำคัญของประเทศ ซึ่งหน่วยงานสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูงขึ้น ส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ
ผลการศึกษาครั้งทำให้ได้รับทราบถึงประเด็นความไม่พึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง รวมถึงภาพลักษณ์ของหน่วยงานในมุมมองของผู้ใช้บริการ ข้อเสนอแนะที่หน่วยงานควรจะปรับปรุงเพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจและตอบสนองตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการหรือประชาชนมากขึ้น
โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานงบประมาณในลักษณะบูรณาการด้านการปฏิรูปกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้คำจำกัดความและการจำแนกองค์ประกอบของคำว่า “ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม” วิเคราะห์ความสอดคล้องและเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินการของแผนงานบูรณาการ รวมทั้งติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงาน
ผลของการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม การเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการเบิกจ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้ การปรับเปลี่ยนกิจกรรมระหว่างการดำเนินงาน การจัดการข้อร้องเรียน และประสิทธิผลของการบริหารจัดการงบประมาณแผนงานบูรณาการ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการ และการจัดทำงบประมาณแผนบูรณาการด้านการปฏิรูปกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรมสำหรับปีงบประมาณต่อๆ ไป
โครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับ บริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร เพื่อการวิเคราะห์หาจุดอ่อนจุดแข็งและการกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ โดยสามารถแบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 กลุ่มตามประเภทผู้รับบริการ ได้แก่ (1) สำนักงานเขต 50 แห่ง ซึ่งมีผู้รับบริการเป็นประชาชนทั่วไปทั้งหมด (2) สำนัก/สำนักงาน/ส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 13 หน่วยงานซึ่งมีผู้รับบริการเป็นข้าราชการ บุคลากรของกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองทั้งหมด (3) สำนัก/สำนักงาน/ส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 14 หน่วยงาน ซึ่งมีผู้รับบริการเป็นข้าราชการ บุคลากรของกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมือง และประชาชนทั่วไป
ผลวิเคราะห์จากทั้ง 3 กลุ่มพบว่าคำถามที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุดเป็นคำถามที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ส่วนคำถามที่ได้รับความพึงพอใจน้อยเมื่อเทียบกับข้ออื่นๆ คือคำถามที่เกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ โดยเฉพาะเรื่องของ Website และ Social ต่างๆ ซึ่งการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งใช้วิธีเปรียบเทียบผลความพึงพอใจของแต่ละหน่วยงานนำมาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่ม เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานในการดูแลปรับปรุงในด้านที่ด้านที่ได้รับความพึงพอใจจากผู้รับบริการต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และด้านที่มีอันดับต่ำกว่าอันดับของกลุ่ม
ความสำเร็จในเชิงของการนำไปใช้ประโยชน์ต่อองค์กรคือผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่กรุงเทพฯแต่ละหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น 50 เขตในกรุงเทพมหานคร หรือ 27 สำนักสามารถนำเอาข้อสรุป ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการให้บริการต่อไปได้
โครงการการพัฒนาแบบจำลองตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาค (KTB Macro Factor Model) บมจ.ธนาคารกรุงไทย
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์
-----------------------------------------------------------------
โครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาแบบจำลองเศรษฐมิติ KTB Macro Factor Model เพื่อการพยากรณ์ตัวแปรทางมหภาคที่สำคัญ เช่น การเติบโตของ GDP เงินเฟ้อ การส่งออก เป็นต้น และยังได้พัฒนาแบบจำลองเสริม KTB Macro-to-Industry application ที่เชื่อมโยงไปยังภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในรายสาขาผ่านการใช้ข้อมูลจากตารางปัจจัยการผลิต - ผลผลิต ทำให้สามารถประเมินผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนฯ ราคาน้ำมันที่มีต่อเศรษฐกิจและธุรกิจในรายสาขาการผลิต อีกทั้งยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่จะมีความสะดวกในการใช้งานในเชิงปฏิบัติอีกด้วย
ผลสำเร็จจากการศึกษาแบบจำลองนี้จะช่วยให้ บมจ.ธนาคารกรุงไทยมีเครื่องมือในการพยากรณ์เศรษฐกิจมหภาคและประเมินผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่อภาคอุตสาหกรรมรายสาขาได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้แบบจำลองนี้ยังมีบทบาทช่วยในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของพอร์ตสินเชื่อ ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย อีกด้วย ซึ่งมีความสำคัญในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ
โครงการการจัดทำเส้นทางการพัฒนานักกีฬาให้ประสบความสำเร็จ ในระดับนานาชาติของการกีฬาแห่งประเทศไทย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิพุธ อ่องสกุล
--------------------------------------------------------
โครงการจัดทำเส้นทางการพัฒนานักกีฬาให้ประสบความสำเร็จ ในระดับนานาชาติโดยการศึกษาองค์ประกอบ ปัจจัยหลักและปัจจัยที่เกี่ยวข้องเฉพาะที่จะทำให้นักกีฬาเป็นเลิศสู่การได้เหรียญรางวัลจากการแข่งขัน เป็นกลยุทธ์เชิงรุกในการพัฒนานักกีฬา เพิ่มโอกาสให้ได้เหรียญรางวัลจากการแข่งขัน และตอบโจทย์การพัฒนานักกีฬาอย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลและมีเป้าหมาย
โดยหน่วยงานสามารถนำผลการวิเคราะห์ปัจจัยและองค์ประกอบในการพัฒนากีฬา มาจัดทำเป็นเส้นทางการพัฒนานักกีฬาให้ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติได้
โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายทุกภาคส่วนในการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมเสริมสร้างความขีดความสามารถในการทำหน้าที่ดูแลผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากกิจการเหมืองแร่ของทุกภาคส่วนในพื้นที่ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเหมืองแร่ และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ซึ่งเครือข่ายภาคประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ทั่วประเทศได้ให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย
ความสำเร็จของโครงการในครั้งนี้คือทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักต่อบทบาทของตนเพิ่มมากขึ้น มีความสามารถในการดูแลผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากกิจการเหมืองแร่เพิ่มมากขึ้น และมีขีดความสามารถในการดำเนินงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆตามแนวทางสานพลังประชารัฐ
โครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน โดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนา การท่องเที่ยวโลก (Sustainable Development Golds : SDGs) และสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council : GSTC) เพื่อจัดทำนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมตลอดจนผลผลิตของคนในท้องถิ่น
ความสำเร็จของโครงการแบ่งได้ออกเป็น 4 องค์ประกอบหลักที่สามารถนำไปใช้และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรการท่องเที่ยวทางภาครัฐและเอกชน ได้แก่ (1) นโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวระยะ 15 ปี (2) แผนพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวระยะ 5 ปี (3) แผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี (4) คู่มือการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของไทยซึ่งเป็นเครื่องมือที่รวบรวมองค์ประกอบความรู้ ด้านการพัฒนา การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของไทยไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อให้องค์กร ชุมชน ประชาชน ที่มีความสนใจได้นำไปศึกษาและพัฒนาต่อ
ความสำเร็จที่สำคัญคือการกำหนดเป้าหมายยกระดับการท่องเที่ยวไทยสู่ความยั่งยืนตรงตามเป้าหมายการพัฒนาการท่องเที่ยวสากลของการพัฒนาการท่องเที่ยวโลก(SDGs) สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานความเป็นไทยเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่ประชาชนและชุมชน การเตรียมรับและลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวและสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน และยกระดับการท่องเที่ยวของไทยให้มีมาตรฐานมากขึ้น
การศึกษาสภาพแวดล้อมทางอาหารภายในมหาวิทยาลัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพของนักศึกษาไทย โดยคณะผู้วิจัยได้พัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยที่ว่าสภาพแวดล้อมสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านปัจจัยระดับบุคคล ดังนั้นกรอบแนวคิดในการวิจัยจึงครอบคลุมทั้งปัจจัยระดับบุคคลและปัจจัยทางสภาพแวดล้อมครบทุกด้าน
ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของนโยบายอาหารและโภชนาการในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายและมาตรการทางด้านอาหารและโภชนาการของสถาบันอุดมศึกษา โดยข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและมาตรการในการสร้างเสริมพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โครงการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงอิทธิพลของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาไทยและความเป็นไปได้ในการจัดการปัจจัยแวดล้อมทางอาหารภายในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของวัยรุ่นตอนปลายซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา วิเคราะห์ การพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์ รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบอุตสาหกรรมในอนาคต Super Cluster และประตูการค้าสำคัญของประเทศ โดยระบุกิจกรรมรองรับการพัฒนาทั้งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน (Hard Side) โครงข่ายหลัก โครงข่ายรอง สิ่งอำนวยความสะดวก การขนถ่ายสินค้า รวมถึงกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ (Soft Side) โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่เหมาะสมที่สามารถติดตามเพื่อประเมินผลไปสู่การลดต้นทุนค่าขนส่ง และ/หรือเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขนส่งได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผลสำเร็จของงานมีองค์ประกอบดังนี้ 1) ฐานข้องมูลผลการศึกษาและดำเนินงานที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) ผลสำรวจและวิเคราะห์การพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ของพื้นที่ Super Cluster 3) งานเสนอแนะมาตรการจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ วิเคราะห์ประโยชน์และรูปแบบการลงทุนของแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่ Super Cluster 4) งานจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564)
ผลการศึกษาสะท้อนถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งทางถนนไปสู่การขนส่งระบบรางและทางน้ำเรียบชายฝั่ง และมุ่งเน้นการพัฒนาใน 4 มิติภายใต้แนวคิด ต่อเนื่อง เชื่อมโยง ขับเคลื่อน และยั่งยืน
การสำรวจความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กรเป็นการสำรวจที่ทำมาอย่างต่อเนื่องเสมือนเป็นเครื่องมือวินิจฉัยองค์การระดับบุคคล ในปี พ.ศ. 2561 มีการดำเนินการเพิ่มเติมในส่วนของการสำรวจค่านิยมองค์กร ทำให้เห็นผล
การสำรวจที่เสริมกันได้อย่างดี ทำให้ความน่าเชื่อถือของการศึกษามีมากยิ่งขึ้น
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สามารถจัดทำแผนเรื่องบุคลากรได้ชัดเจน โดยนำผลการสำรวจมาใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการทำแผน ซึ่งทำให้บุคลากรได้รับการดูแลดียิ่งขึ้น และองค์กรใช้งบประมาณในการพัฒนาและแก้ปัญหาได้ถูกจุด ทำให้บุคลากรมีค่าคะแนนความผูกพันต่อองค์การสูงขึ้น และทำให้ภารกิจขององค์การได้รับการจัดการจากบุคคลากรที่มีความสามารถมากขึ้น
สรุปได้ว่าการดำเนินงานตามข้อเสนอโครงการนี้ประกอบด้วยการสำรวจ 2 ส่วนได้แก่ 1) การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อ กฟภ. และ 2) การสำรวจการรับรู้เข้าใจค่านิยมและพฤติกรรมตามค่านิยม กฟภ. โดยผลจากการสำรวจทั้ง 2 ส่วน สามารถนำไปจัดทำแผนยกระดับความผูกพันและแผนส่งเสริมพฤติกรรมตามค่านิยมของบุคลากรให้รองรับต่อการดำเนินงานขององค์กร ตลอดจนสนับสนุนให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พร้อมทุ่มเททำงานให้กับองค์กร อันจะส่งผลต่อการเพิ่มคุณค่าให้กับผลงานและผลผลิตองค์กรได้ในระยะยาวต่อไป
โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เป็นการประเมินผลที่ครอบคลุมความสำเร็จในด้านของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบ และความคุ้มค่า โดยบูรณาการมุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบ
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาจะเป็นพื้นฐานที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ใช้ประโยชน์ในกระบวนการจัดทำงบประมาณที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ พัฒนาโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสามารถพัฒนาตัวชี้วัดผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับการดำเนินพันธกิจของหน่วยงาน โดยเฉพาะเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน
จากผลการศึกษา จึงได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานทั้งในด้านนโยบาย โครงสร้าง อัตรากำลัง และข้อเสนอแนะ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้รับบริการ
ผลการวิจัยชี้ถึงความต้องการและทิศทางการใช้สื่อเป็นเครื่องมือของชนกลุ่มน้อยในแต่ละสังคมที่ศึกษาทำให้นำมาใช้กำหนดนโยบายและกระบวนวิธีการปฏิบัติได้เหมาะสม เช่น ใช้รูปแบบการกำกับทั้งเชิงเข้มแข็งและนุ่มนวล (Soft power)
ประชาชนมีความเข้าใจ และสามารถแยกแยะเจตนาและความต้องการของการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และศาสนาได้ทำให้สื่อเชิงลบขาดความเชื่อถือและมีบทบาทน้อย
การผลิตสื่อสารเชิงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และศาสนาในสังคมที่มีความขัดแย้งไม่อาจสร้างความยอมรับในประชาชนวงกว้าง หากนโยบายทางสังคมมีความเป็นธรรม และการกำกับสื่อมีความเหมาะสมกับสถานการณ์
โครงการพัฒนาระบบบริการประชาชนเชิงรุก เป็นการพัฒนาระบบราชการ
ให้มีการปรับตัวโดยเน้นการทำงานเชิงรุก โดยอาศัยแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพ
การทำงานตามเกณฑ์รางวัล เลิศรัฐและตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ UN Public Service Award
ทำให้เกิดการพัฒนาระบบการทำงานของภาครัฐและทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชน
ทั้งในด้านงานบริการประชาชนและงานบริการภาครัฐโดยมีการลดเวลา ลดขั้นตอนและ
ลดความสูญเปล่าในการทำงานทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
การพัฒนาระบบงานโดยเฉพาะระบบราชการที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ภาครัฐเกิดการปรับตัวให้มีประสิทธิภาพและทำให้เกิดการมองภาพรวมในเชิงยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเกิดขึ้นและเป็นมาอย่างยาวนานตามสถานการณ์ แวดล้อม สื่อสำคัญที่มีบทบาทมากคือ วิทยุในท้องถิ่น จุดเด่นของโครงการอยู่ที่การส่งเสริมให้บทบาทแล้วมีการติดตามผลของการส่งเสริมบทบาทเหล่านั้น
มีการจัดสัมมนาสื่อวิทยุในพื้นที่แล้วนำผลจากการแลกเปลี่ยนกิจกรรมไปประยุกต์ต่อยอด ทำให้สื่อได้รับความร่วมมือจากผู้ฟังในการสื่อสารกับกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ทำให้ลดช่องว่างของปัญหาความขัดแย้งอันเกิดจากความไม่เข้าใจในการสื่อสารได้ทันเหตุการณ์ไม่บานปลาย
บทบาทของสื่อวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีทั้งด้านการร้องเรียน การสอบถามความรู้ความเข้าใจ และการลดช่องว่างระหว่างภาครัฐ และประชาชนในชุมชน จึงควรสนับสนุนให้มีบทบาททั้งด้านต่อต้านความรุนแรง และการเสริมสร้างสันติภาพ
เป็นการรับผิดชอบดำเนินงานและให้คำปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ให้แก่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานอย่างเต็มรูปแบบ
โครงการนี้เป็นโครงการภาคปฏิบัติที่มีจุดเน้นในการช่วยให้เกิดความตระหนักแก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน
จากการดำเนินโครงการจนสิ้นสุดทำให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน มีแผนบริหารโครงการประชาสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมและสามารถดำเนินการตามแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความน่าสนใจ คือ เป็นการสำรวจความพึงพอใจ ในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยและสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด ทำให้ทราบความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยและสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดที่มีต่อการดำเนินงาน ของ กกท. ในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน
สามารถนำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ นำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษา ทำให้ผลการศึกษามีความสมบูรณ์ มีทฤษฎีและองค์ความรู้รองรับในผลการศึกษา หน่วยงานสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการวางแผนพัฒนา/ปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านกีฬาชาติและยุทธศาสตร์ของ กกท. ต่อไป
นำผลการสำรวจที่ได้มาจัดทำเป็นข้อเสนอต่อ กกท. เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการให้บริการรวมถึงแนวทางการพัฒนาเพื่อการดำเนินงานของ กกท. ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งจะทำให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด และเพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญ
เป็นการศึกษามิติใหม่ในการปรับบทบาทของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีผลผลิกผัน (Disruptive Technology) ต่อโครงสร้างตลาดแรงงาน สายทางอาชีพ ลักษณะอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพของกำลังคนในภาคเอกชนของชาติ รวมทั้งวิถีการประสานพลังสร้างความร่วมมือและสมรรถนะกำลังคนของชาติ ในอุตสาหกรรม S curve ตามนโยบายการส่งเสริมของรัฐบาลในยุค 4.0 ซึ่งไม่เคยมีการศึกษาแนวทางในลักษณะนี้มาก่อน
มีการรับฟังความคิดเห็นที่แท้จริงจาก ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถาบันการศึกษา สมาคมองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ และได้รับความเห็นชอบผ่านการประชาพิเคราะห์ และการตรวจรับของคณะกรรมการตรวจรับของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน)
ข้อสรุปที่สำคัญ 1) ปรับปรุงยกร่างโครงสร้างองค์กรและภารกิจใหม่ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพให้รองรับยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนของภาคเอกชนในประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2560-2564 2) สร้างและจัดทำรูปแบบพันธมิตรระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพกับเครือข่าย เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนของภาคเอกชนในประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2560-2564 3) แก้ไขปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 และเสนอแนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติใหม่ของสถาบันฯ ให้สอดรับกับพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 ตามนโยบายของรัฐบาล
จุดเด่นของโครงการ เป็นการนำเสนอกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงของไทยในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาความบกพร่องและความไม่มีประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีการปรับปรุงระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในด้านต่าง ๆ
ข้อเสนอนำไปพัฒนาระบบกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน
ผู้วิจัยได้สรุปผลการพัฒนารูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินใน 3 ประเด็น ได้แก่ การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ระบบการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและระบบสารสนเทศเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Asset Collecting and Analysis System - ACAS)
การได้ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย ไปในระดับนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้นำข้อมูลจากงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างกลไกในการลดปริมาณขยะถุงพลาสติกต่อไป
จากงานวิจัย คณะได้มีความร่วมมือกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้มาสัมมนาในการเรียนรู้จากงานวิจัยและนำไปใช้ในองค์กรตามแผนงานของแต่ละหน่วยงาน
เป้าหมายลดการใช้ถุงพลาสติกต้องมีการปรับปรุงทุก 3-5 ปี แบ่งเป็น 3 ด้าน 1) การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมถุง โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1 บาท/ถุง ต่อมา 1.5 และ 2 บาท/ถุง รายรับค่าธรรมเนียม ให้นำเข้ากองทุนหรือสนับสนุนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม 2) ขอบเขตของกฎระเบียบ ผู้จ่ายค่าธรรมเนียม คือ ผู้ใช้ถุงพลาสติก หรือ ผู้บริโภค ที่ซื้อสินค้าจากร้านค้า 3) กำหนดแนวทางการใช้เงินได้จากค่าธรรมเนียม โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบควรเป็นหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้เงินต้องมีเป้าเพื่อลดถุงพลาสติกอย่างคุ้มค่าต่อสังคม
โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดมากมายให้สมาชิกได้แสดงความสามารถ ทั้งในระดับชมรม ระดับจังหวัด ระดับภาค จนถึงระดับประเทศ มีกิจกรรมที่จัดขึ้นหลายโครงการ จึงมีความจำเป็นที่ต้องประเมินผลโครงการเพื่อใช้เป็นแนวทางในพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยผลจากการประเมินทำให้ทราบว่า 1) ควรเน้นการพัฒนาผู้นำให้มากขึ้น 2) ผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน พบว่าเหตุผลหลักที่ทำให้สมาชิกเข้ามาร่วมโครงการคือต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดีขึ้น 3) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงลึกพบว่าสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จเริ่มต้นจากการสนับสนุนของผู้อำนวยการ ส่วนในสถานประกอบการที่ประสบผลสำเร็จ คือ การมีช่องทางให้พนักงานได้แสดงภาวะผู้นำ ในขณะที่ในชุมชนนั้นต้องมีผู้นำชุมชนร่วมสนับสนุนด้วย และในทัณฑสถานก็จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการสถานพินิจฯหรือทัณฑสถานแห่งนั้นด้วยเช่นกัน 4) ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าสมาชิกและแกนนำชมรมมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อทุนทางจิตใจ (Psychological Capital) เกิดการมีส่วนร่วม ตระหนักรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อชมรม และแกนนำที่มีทักษะในการบริหารที่ดีสามารถสร้างศรัทธาให้สมาชิกได้ ส่วนในสถานประกอบการพบว่าสมาชิกที่มีทัศนคติที่ดีต่อชมรมจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและพร้อมที่จะบอกต่อกิจกรรมของชมรม ในส่วนชุมชนพบว่าทักษะการบริหารของแกนนำสัมพันธ์กับทุนทางจิตใจของสมาชิก ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่สำคัญ
อีกทั้งผลการประเมินโครงการ “ใครติดยายกมือขึ้น” พบว่าการบำบัดยาเสพติดแบบเข้มข้น โดยการเข้าร่วมโครงการการบำบัดรักษาและฟื้นฟูจิตใจ “ค่ายท่าน ว. วชิรเมธี” เกิดประสิทธิผลมากกว่าการบำบัดแบบปกติของทางราชการ
โครงการสำรวจความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการให้บริการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนนี้ เป็นการสำรวจเพื่อทำให้ทราบและเกิดความเข้าใจในการให้บริการต่อผู้ใช้บริการรวมถึงทราบความต้องการของผู้มาใช้บริการด้วย
โดยการนำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ นำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษา ทำให้ผลการศึกษามีความสมบูรณ์ มีทฤษฎีและองค์ความรู้รองรับในผลการศึกษา หน่วยงานสามารถนำเอาผลการศึกษาไปประยุกต์เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น ทำให้หน่วยงานเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น อันส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ
ผลการสำรวจที่ได้มาจัดทำเป็นข้อเสนอต่อสำนักงานฯ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงระบบคุณภาพการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะทำให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดและเพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญ
การศึกษาวิจัยเรื่องราวการแปรรูป บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในเชิงลึก เป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการ ภาคธุรกิจและประชาชนที่สนใจ โดยใช้หลักการวิเคราะห์และการศึกษาเปรียบเทียบตามหลักวิชาการที่ถูกต้องและเป็นกลาง โดยทำการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ที่มา หลักการ เหตุผล และความถูกต้องตามหลักกฎหมาย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาและอุปสรรคของขั้นตอนการดำเนินการแปรรูปจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อศึกษาการกระจายหุ้นหลังการแปรรูป ศึกษาโครงสร้างผู้ถือหุ้นจากอดีตถึงปัจจุบัน และข้อมูลผลประกอบการของ ปตท. ทั้งก่อนและหลังการแปรรูป
การแปลงสภาพและแปรรูปของ ปตท. นั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ต่อองค์กรและต่อประชาชน คือ 1) เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ เข้าถึงแหล่งเงินทุนและช่องทางการระดมทุนที่เหมาะสม 2) สามารถปรับโครงสร้างหนี้บริษัทในกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี จนทำให้บริษัทเหล่านี้เข้มแข็งพอที่จะดำเนินภารกิจต่อยอดที่สำคัญ 3) เพิ่มประสิทธิภาพความโปร่งใสในการบริหารงาน ซึ่งถูกกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 4) หากการแปลงสภาพและแปรรูปสามารถส่งให้ผลประกอบการดีขึ้น ก็นับเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล เพราะ ปตท. ยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นมากกว่า ร้อยละ 50
โดยในทางทฤษฎี การแปลงสภาพและแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีความจำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในแง่ของการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพื่อรองรับการแข่งขันและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง ซึ่งนอกจากความสำเร็จ ในแง่ผลประกอบการแล้ว พบว่าในเชิงเปรียบเทียบ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และรักษาความสามารถในการทำกำไรได้เป็นอย่างดี
โครงการประเมินเงินสำรองค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานไทย เป็นการให้บริการประเมิน เงินสำรองค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานไทย เพื่อให้บริษัท องค์กรมหาชน และหน่วยงานราชการระดับกรมนำตัวเลขผลการประเมินไปใช้บันทึกบัญชีตามที่มาตรฐานบัญชีกำหนด
โดยเป็นการอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาการประกันภัยที่เปิดสอนโดยนิด้า ในระดับปริญญาโท ไปช่วยองค์กรในการตั้งสำรองเพื่อให้เป็นไปตามที่มาตรฐานบัญชีกำหนด ทำให้เกิดการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงในมาตรฐานบัญชีใหม่ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งสำรองค่าชดเชยการเลิกจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงานไทย และสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย
กรมบัญชีกลางได้ลงนามในสัญญาเพื่อพัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วนของภาคประชาชน และรองรับการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในแง่ผู้ประกอบการกับภาครัฐ และการปฏิบัติงานของส่วนราชการ โดยระบบการเปิดเผยข้อมูลของกรมบัญชีกลางที่พัฒนาขึ้น สามารถเข้าถึงได้โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ที่ใช้ระบบไอโอเอส (IOS) หรือ แอนดรอยด์ (Android) โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน
การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยในส่วนที่ 1 จะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ภาคประชาชนในพื้นที่ สามารถใช้เปรียบเทียบกับผลงานในพื้นที่นั้นๆ ส่วนการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในส่วนที่ 2 จะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ใช้ในการเลือกหน่วยงานที่จะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการตรวจสอบป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันมากยิ่งขึ้น
ความสำเร็จของโครงการคือการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องปราม และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเมื่อภาคประชาชนเห็นข้อมูลที่เปิดเผยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็สามารถส่งข้อมูลมายังระบบเปิดเผยข้อมูลได้ เพื่อตรวจสอบในลำดับถัดไป
โครงการบริหารติดตามและประเมินผลการประหยัดพลังงาน เป็นการประเมินผลโครงการด้านอนุรักษ์พลังงานของสถานประกอบการ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งมีการตรวจวัดพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงานของสถานประกอบการที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโครงการ ที่จะทำให้ภาครัฐสามารถนำไปปรับปรุงแนวทาง กฎเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุนให้สถานประกอบการและหน่วยงานต่างๆ ดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานให้ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น สนับสนุนให้นโยบายและแผนงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศมีโอกาสประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
การพิจารณาการโครงการอนุรักษ์พลังงานให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น คือการกำหนดเป้าหมายผลของการประหยัดพลังงานที่สอดคล้องกับความเป็นจริง สนับสนุนโครงการที่มีผลประหยัดพลังงานตามเป้าหมาย ให้มีการต่อยอดเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงาน และนำระบบสารสนเทศมาใช้สนับสนุนให้เกิดศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานต่อไป
โครงการนี้เป็นการสำรวจความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าปัจจุบันรวมถึง Potential customers ในอนาคตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
การนำทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความต้องการ การบริหารธุรกิจ การจัดการองค์กรสมัยใหม่ ประยุกต์ใช้กับการศึกษา ทำให้ผลการศึกษามีความสมบูรณ์ มีทฤษฎีและองค์ความรู้รองรับในผลการศึกษา ซึ่งหากหน่วยงานมีการพัฒนา ย่อมจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ
ความสำเร็จของโครงการ คือ ผลสรุปความพึงพอใจที่ลูกค้ามีต่อ กฟผ. ความต้องการของลูกค้าที่มีต่อการบริหารของ กฟผ. ทั้งการให้บริการเดิม นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ลูกค้าต้องการ ความไม่พึงพอใจภาพลักษณ์ของหน่วยงานในมุมมองของลูกค้า ที่หน่วยงานจะได้นำไปใช้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
โครงการที่ปรึกษาส่งเสริมการลงทุนไทย–จีน ประจำปีงบประมาณ 2560 นี้ จัดเป็นโครงการเชิงวิชาการและปฏิบัติการ โดยในเชิงวิชาการมีการวิจัยศึกษาเศรษฐกิจสังคมทั้งในไทยและจีน มีรายงานการศึกษาที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ ส่วนในเชิงปฏิบัติการจะมีทีมล่ามอยู่ประจำบีโอไอคอยให้บริการ ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีนที่ดี เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ ทั้งเป็นที่ประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติ
ในการดำเนินโครงการจะมีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น สรุปข่าวของจีนทุกสองสัปดาห์เป็นภาษาไทย การแปลนโยบายหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับการค้าการลงทุนของไทยเป็นภาษาจีน ทำหน้าที่เป็นล่ามให้กับนักลงทุนชาวจีน หาช่องทางการลงทุนในไทย รวมไปถึงการศึกษาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของจีน เพื่อเชิญชวนมาลงทุนที่ไทย และจัดทำคู่มือภาษาไทยเกี่ยวกับการลงทุนในจีน เพื่อให้นักลงทุนศึกษาเป็นแนว
ความสำเร็จในครั้งนี้คือ สามารถสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่นักลงทุนทั้งไทยและจีน ส่งผลให้เกิดการลงทุนระหว่างไทยกับจีน รวมไปถึงเอกสารและคู่มือที่จัดทำขึ้นเป็นที่ยอมรับและเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน
ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญต่อการนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปีงบประมาณ 2560 เป็นการวินิจฉัยองค์การก่อนการวางแผนพัฒนาคนและองค์การในอนาคต
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมุ่งประโยชน์ระดับบุคลากรในองค์การ เพื่อให้เกิดความผูกพันของบุคลากรต่อ ททท. และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์การในการรับทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพัน อันจะทำให้องค์การสามารถปรับปรุงวิธีการบริหารงานให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรในองค์การได้ดียิ่งขึ้น
ผลจากการดำเนินโครงการ ททท. สามารถกำหนดแผนเสริมสร้างความพึงพอใจและความผูกพัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรในองค์กรแต่ละกลุ่ม และบริบทขององค์กรตลอดจนสื่อสารสร้างความเข้าใจแผนดังกล่าวอย่างทั่วถึง
การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้เทศบาลขนาดใหญ่พัฒนาโครงการต่างๆ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นต้นเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและโลกอย่างรุนแรงในขณะนี้
โดยการนำแนวความคิดสร้างสรรค์ โครงการลดคาร์บอนก๊าซเรือนกระจกที่มีความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ และการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นไปที่ตัวผู้นำของแต่ละพื้นที่อย่างนายกเทศมนตรีและผู้บริหารเทศบาล ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนแผนงานดังกล่าว
การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำจะเกิดผลเมื่อผู้บริหารระดับสูงของเทศบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกเทศมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อน และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน ซึ่งโครงการที่ดีควรสอดคล้องกับบริบทในด้านสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการที่แตกต่างกัน
การศึกษาการพัฒนาโครงสร้างองค์กรสถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีการนำเสนอรูปแบบของการจัดการองค์กร ให้มีความเหมาะสมกับองค์การมหาชน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และของสถาบัน ตลอดจนแผนแม่บท เพื่อให้สถาบันสามารถทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อันเป็นการทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน สังคมและประเทศ
ประโยชน์ของงานนี้ เกิดจากการนำเอาทฤษฎีและองค์ความรู้ต่างๆ ทางด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการองค์กร ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล มาเป็นพื้นฐานในการศึกษา เพื่อให้โครงสร้างใหม่ที่เหมาะสมกับองค์กร ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่ได้กำหนดไว้ในระยะเวลา 20 ปี อีกทั้งยังมีการจัดทำแผนงานที่จะพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสม และการศึกษาเส้นทางความก้าวหน้าของเจ้าหน้าที่ในองค์กรด้วย
การศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของศูนย์ดำรงธรรม ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการประเมินขีดความสามารถของศูนย์ดำรงธรรมอย่างเป็นระบบ และการมีส่วนร่วมจากบุคลากรของศูนย์ฯ ทั่วประเทศ ควบคู่กับการรับฟังเสียงสะท้อน (feedback) จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกศูนย์ฯ
โดยผลจากการศึกษาถูกนำไปใช้กำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน บำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชนในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ
ปัจจัยความสำเร็จจากการศึกษาในครั้งนี้ คือ การมีจุดเน้น (focus) เจาะจงไปที่การรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ การบริการข้อมูลข่าวสาร คำปรึกษา การรับรู้ความต้องการและข้อเสนอแนะจากประชาชน รวมทั้งการปฏิบัติการด้วยชุดเคลื่อนที่เร็วเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนของประชาชน ซึ่งมีมิติสำคัญในการยกระดับ ดังนี้ 1) การปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ 2) การยกระดับขีดความสามารถของบุคลากร 3) การพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 4) การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้โดยมุ่งผลลัพธ์เชื่อมโยงกับติดตามงาน 5) การกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารงานของศูนย์ฯ
โครงการคัดสรรผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร (Bangkok Brand) มุ่งพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในกรุงเทพฯ ด้วยการดำเนินการคัดสรรผลิตภัณฑ์ และมอบตราผลิตภัณฑ์ “Bangkok Brand” ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ โดยผู้วิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการบูรณาการองค์ความรู้หลายแขนงเพื่อกำหนดมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์
การคัดสรรผลิตภัณฑ์กรุงเทพฯ ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ ส่งผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดสรรเป็นจำนวนมาก โดยผลการคัดสรรแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 1) พลาทินัม 2) เหรียญทอง 3) เหรียญเงิน 4) เหรียญทองแดง จัดว่าเป็นแนวทางการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมการนำภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์พร้อมกับการผสานเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ตามกรอบนโยบาย Startup Thailand 4.0
โครงการนี้ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในความพึงพอใจ รวมถึงความผูกพันที่พนักงานการประปาส่วนภูมิภาคมีต่อหน่วยงาน โดยการศึกษาในครั้งนี้มีการนำทฤษฎี และองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ การบริหารองค์กร และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา ซึ่งหน่วยงานที่ทำการศึกษาเป็นรัฐวิสาหกิจที่สำคัญของประเทศ
ความสำเร็จที่สำคัญ คือ หน่วยงานได้นำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ย่อมจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานในด้านต่างๆ สูงขึ้น อันส่งผลดีต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติ
ความพึงพอใจ ความผูกพันที่พนักงานมีต่อการประปาภูมิภาค ทำให้ทราบประเด็นความไม่พึงพอใจ ภาพลักษณ์ของหน่วยงานในมุมมองของพนักงาน ข้อเสนอแนะที่หน่วยงานควรจะปรับปรุงเพื่อให้พนักงานเกิดความพอใจและความผูกพันกับหน่วยงานมากขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรที่ดีต่อไป
โครงการนี้เชื่อมมิติทางด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศกับตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ตัวชี้วัดขององค์การสหประชาชาติ ทำงานวิจัยร่วมกับประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงพร้อมทั้งลงพื้นที่ในต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของประเทศเหล่านั้น
โครงการนี้ถือเป็นผลงานชิ้นสําคัญ สามารถนำไปพัฒนาได้ทั้งในระดับองค์กร ระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยงานวิจัยนี้ ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน(Mixed Methods) ทั้งเทคนิคเชิงปริมาณชั้นสูง เทคนิคเชิงคุณภาพ และการลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษา
โดยผลของงานวิจัยได้นำเสนอ Framework ใหม่ ที่มีชื่อว่า "Pholphirul Model of Trade Linkages for Sustainable Development" พัฒนามาจาก Winters (2004) เพื่อนำเสนอการสร้างความเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในแต่ละตัวชี้วัด โดยทำงานวิจัยและนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศสำหรับประเทศกำลังพัฒนาให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้
โครงการนี้มีการวางแผนการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร โดยเริ่มจาการการวิเคราะห์และเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงขององค์กร ควบคู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการออกแบบกระบวนการและกิจกรรมต่างๆ
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมในการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร จำเป็นต้องกำหนดให้มีความสอดคล้องกับความคาดหวังขององค์กร รวมทั้งคำนิยามของวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ฉบับที่ถูกจัดทำขึ้นใหม่นี้ โดยมีลำดับความสำคัญดังนี้ 1) วัฒนธรรมด้าน Respect 2) วัฒนธรรมด้าน Teamwork 3) วัฒนธรรม ด้าน Accountability และ 4) วัฒนธรรมด้าน Mastery
ความสำเร็จที่สำคัญของโครงการ คือ ในระดับองค์กร ได้แผนกิจกรรมในการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรเพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรมและขับเคลื่อนวัฒนธรรมขององค์กรต่อไป ในระดับสังคม ได้สมาชิกที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่พึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เอื้อเฟื้อ และเกื้อกูลกัน ในระดับประเทศชาติ มีรัฐวิสาหกิจที่มีคุณภาพ สามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การจัดการทางการเงินเชิงกลยุทธ์ คือ การวางแผนและ ตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเงินที่มีประสิทธิภาพภายใต้ ทรัพยากรที่มีจำกัดและความเสี่ยงที่ยอมรับได้โดยใช้มุมมองในระยะยาว เสาหลักของการจัดการทางการเงินเชิงกลยุทธ์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการตัดสินใจลงทุน จัดหาเงินทุน การบริหารเงิน และบริหารความเสี่ยงที่มุ่งเน้นการพิจารณาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของ องค์กรควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน การจัดการทางการเงินเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งภายใต้เศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ มีความไม่แน่นอนสูงแต่ก็มีโอกาสเติบโตขององค์กรในอนาคตสูงด้วยเช่นกัน ดังนั้น องค์กรที่ต้องการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จึงต้องใช้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ในเชิงมูลค่าเพิ่มที่เน้นการทำงานน้อยแต่ให้ได้มูลค่าสูงมากกว่าเน้นเชิงปริมาณต้องพัฒนารูปแบบการคิดและการตัดสินใจทางการเงิน เพื่อ สนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายในการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว
หัวใจสำคัญของการจัดการทางการเงินเชิงกลยุทธ์ ก็คือ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้มุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาวขององค์กร การสร้างความสามารถทางการแข่งขันจากการตัดสินใจทางการเงินที่ยึดหยุ่นเพื่อรองรับความไม่แน่นอน และเน้นการทำงานของฝ่ายการเงินในเชิงรุก เพื่อเป็นคู่คิดทางธุรกิจให้กับหน่วยงาน ต่างๆ ภายในองค์กร
การจัดการทางการเงินเชิงกลยุทธ์ต้องเริ่มต้นที่ผู้นำองค์กร และผู้บริหารทางการเงินจะต้องสร้างหรือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานองค์กรให้เป็นองค์กรสมัยใหม่และรองรับการขับเคลื่อนกลยุทธ์ พัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความรู้ทางการเงิน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กรและนำไปใช้ติดตามผลการดำเนินงานโดยออกแบบระบบการติดตามผลการดำเนินงานที่ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนกลยุทธ์ จากนั้นจึงปรับการจัดการด้านการเงินในระดับหน่วยงานให้มุ่งเน้นกลยุทธ์มากขึ้น โดยพัฒนากลยุทธ์ทางการเงินแล้ว ผนวกเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวต่อไป
โครงการนี้เข้าไปศึกษาถึงการจัดการข่าวสารเพื่อเสนอแนะแนวทางการประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อของรัฐ จากผลการสำรวจประชาชนทั่วไปทั้งที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั่วประเทศไทยจำนวน 2,000 คน ได้รับข่าวสารการประชาสัมพันธ์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจากทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) มากที่สุด รับรู้ทุกประเด็นข่าวสารในระดับมาก โดยรับรู้ประเด็น “การที่ไม่ สมควรส่งต่อภาพที่ไม่เหมาะสมเพราะมีผลกระทบให้เกิดความตระหนตกใจ” มากที่สุด หากจำแนกตามพื้นที่พบว่า ในแต่ละเขตพื้นที่มีค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้ข่าวสารดังกล่าวในระดับมาก ในการประชาสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจข่าวสารในประเด็น “วิธีการ ป้องกันและลดอุบัติเหตุก่อนเดินทาง” มากที่สุด กลุ่ม ตัวอย่างโดยรวมมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารในระดับมาก โดยเฉพาะ “การดูแลตนเองเมื่อประสบสาธารณภัย” อีกทั้งมีระดับความเชื่อมั่นต่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อในระดับมาก
จากข้อมูลข้างต้นและการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานฯ เพิ่มเติม ถึงสถานการณ์สาธารณภัย การประสานงานและการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการพัฒนาและรักษาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน ผู้วิจัยจึง เพิ่มเติมการให้ข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ดังนี้์
ควรมีการบูรณาการใช้สื่อและกิจกรรมโดยหน่วยงานในพื้นที่ให้ความรู้และกระจายข้อมูลทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติเพื่อเตรียมพร้อมรับมือ จัดให้มีการอบรมให้ความรู้กับประชาชน ขยายกลุ่มเป้าหมายโดยเพิ่มเติมกลุ่มเยาวชน รวมทั้ง ควรกำหนดให้มีแผนการขยายและรักษาเครือข่าย การประชาสัมพันธ์อย่างชัดเจน สร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและคนในชุมชน
โครงการนี้เป็นการทบทวนแนวทางการประชาสัมพันธ์ที่รัฐบาลสามารถใช้สื่อของรัฐเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศ
ความสำเร็จที่สำคัญ คือ การได้นำองค์ความรู้จากกระบวนการ การทบทวน วิเคราะห์ และประเมินผลไปใช้เป็นแนวทางในการปรับแผนการปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์และนโยบายสำคัญของรัฐบาลให้สามารถสร้างการรับรู้ เข้าถึง สร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยในประเทศไทย รวมทั้งเมื่อประชาชนรับรู้ เข้าใจ และเชื่อมั่นแล้ว สามารถนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายสำคัญดังกล่าว ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมประชาสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์
การก่อการร้ายมีลักษณะเน้นสงครามตัวแทน (Proxy war) ที่ไม่มีการประกาศในทางการ เหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่ผ่านมาเป็นลักษณะทั่วไปโดยลักลอบวางระเบิดหรือวางเพลิง แต่ปัจจุบันมีการก่อการร้ายแบบยอมฆ่าตัวตาย ซึ่งมีลักษณะรุนแรงสุดโต่ง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ สื่อควรทำหน้าที่ที่ถูกต้องและเหมาะสมมากน้อยเพียงไร จึงจะไม่เน้นการแพร่่ข่าวให้ฝ่ายก่อการร้ายจนกลายเป็นเครื่องมือให้กับฝ่ายก่อการร้ายโดยทางอ้อมและจะนำเสนอข่าวในลักษณะใดอย่างไร โครงการนี้จึงเป็นการศึกษาองค์ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ
นอกจากสื่อจะไม่กลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายก่อการร้ายแล้ว สื่อยังต้องทำหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งเข้าใจข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันต่อต้านการก่อการร้ายแบบสุดโต่ง เช่น การอ้างถึงความเชื่อเรื่อง "ญีฮาด" ของฝ่ายก่อการร้ายว่า การพลีชีพของผู้ก่อการร้ายแบบสุดโต่งทำให้ได้บุญนั้น แท้จริงเป็นการถูกหลอก ถูกใช้เป็นเครื่องมือให้ตายแทน ดังนั้น การทำหน้าที่ของสื่อโดยเฉพาะวิทยุชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งใช้ภาษาท้องถิ่นจะสร้างความเข้าใจมากกว่าสื่อจากส่วนกลางของทางราชการ
ผลสำเร็จที่ได้รับจากโครงการนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลความเห็นของกลุ่มต่างๆ นอกจากได้ คู่มือแนวทางการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงต่อต้านการก่อการร้ายแล้ว ยังมีข้อเสนอแนะสำหรับเจ้าหน้าที่ของ กสทช. ซึ่งเป็น Regulator และกลุ่มผู้ประกอบการ รวมทั้งบุคลากรด้านสื่อซึ่งเป็น Player ในพื้นที่อีก จำนวนมาก
แต่ละยุคมีแนวทางในการบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์และองค์กรแตกต่างกัน ตาม สภาพแวดล้อม ทั้งค่านิยม ทัศนคติ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ เทคโนโลยี ที่ส่งผลให้ มนุษย์มีบุคลิกลักษณะที่เปลี่ยนไป การบริหารจัดการในยุค Thailand 4.0 ที่เป็นเศรษฐกิจนวัตกรรมนี้ องค์กร ควรสนับสนุนให้เกิด "นวัตกร" หรือคน ที่คิดสร้างสรรค์นวัตกรรมควบคู่ไปกับ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้อย่าง เหมาะสมและเกิดประโยชน์ ซึ่ง Innovation DNA ของนวัตกร คือ การเป็นผู้มีค่านิยม ทัศนคติ บุคลิกลักษณะของการคิด และ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มีความฉลาด มั่นใจ รอบรู้ ว่องไว กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่ กล้าเสี่ยงในรูปแบบที่เหมาะสม มีความรู้เชิง บูรณาการทั้งศาสตร์ (STEM) และศิลป์ (Liberal Arts) สามารถคิดเชื่อมโยงหลายเรื่องเข้าด้วยกัน (Associational) มีความสามารถหลากหลาย (Complex Skillsets) ร่วมกับ การส่งเสริม 4 พฤติกรรม คือ กล้าตั้งคำถาม ช่างสังเกต ชอบทดลอง (โดยองค์กรมีพื้นที่ให้ทดลอง) และชอบสร้าง เครือข่ายกับกลุ่มต่างๆปัจจัยแห่งความสำเร็จ ผู้บริหารจะต้องสามารถ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งท้ายที่สุด แล้วก็จะนำไปสู่ Innovative Business Ideas ที่ทำให้ องค์กรสามารถขับเคลื่อบไปสู่องค์กรแบบ 4.0 ได้ในทุกๆ ด้าน
โครงการนี้เป็นการใช้แนวทฤษฎีการวิเคราะห์ภาพอนาคตมาใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถจัดทำแผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระยะเวลา 10 ปี โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การทำให้องค์กรได้รับการยอมรับด้านธรรมาภิบาลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 6 ฝ่าย เพื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกปัจจัยภายใน การวิเคราะห์โดยใช้หลักการของ SWOT, TOWS Matrix อันนำไปสู่การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดในแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการ
เกิดเป็น “แผนแม่บทการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กฟผ. ปี 2560-2569” ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ (11 แผนงาน 29 กิจกรรม) คือ 1) การทำให้ กฟผ. เป็นองค์กรของประชาชน 2) สื่อสารให้เข้าใจจิตใจ ของกลุ่มเป้าหมาย 3) สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ กฟผ. เกิดความเข้มแข็งและมั่นคงในธรมาภิบาลโดยการสร้างพันธมิตร และ 4) สร้างอุดมการณ์ให้ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.ยึดมั่นในธรมาภิบาลและพร้อมรับการตรวจสอบ
นอกจากนี้ยังมีการจำลองภาพของอนาคตของ กฟผ. (Scanario) เพื่อให้ได้กลยุทธ์ทางเลือกรองรับสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม
โครงการนี้ดำเนินการภายใต้ ชื่อโครงการ Engagement for Patient Safety ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) มีโรงพยาบาลเข้าร่วม 148 โรงพยาบาล วินิจฉัยองค์กรโดยใช้เครื่องมือ 9 Cells, Emo-meter และ Safety Culture นำข้อมูลฐาน (Base Line) และติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาโรงพยาบาลต่อเนื่อง 3 ปี (พ.ศ. 2558-2560) เพื่อศึกษาแบบจำลองระยะยาวพร้อมวิเคราะห์ผลโดยศึกษาเส้นโค้งการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยที่มีผลต่อเส้นโค้งการเปลี่ยนแปลง เพื่อประเมินผลการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขแผนงานให้เหมาะสมนำไปสู่การทบทวน OD Master Plan
การดำเนินการนี้ทำให้โรงพยาบาลมีข้อมูลสำหรับการทบทวนความก้าวหน้าหรือผลการพัฒนาองค์กรจากการวินิจฉัยองค์กรอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารโรงพยาบาลมีข้อมูลสำหรับการปรับปรุงแผนการพัฒนาองค์กร การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยได้อย่างตรงประเด็น บุคลากรในโรงพยาบาลได้รับการดูแลทั้งด้านชีวิตและการทำงานอย่างสมดุล ผู้รับบริการ/ผู้ป่วยได้รับการบริการที่ปลอดภัย
สถาบันการแพทย์ฉุกฉินแห่งชาติ มีภารกิจที่ตราไว้ตามเจตนารมณ์ในพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรเนื่องจากเป็นส่วนราชการไม่สามารถหารายได้ด้วยตนเอง จำเป็นจะต้องมีการวางรากฐานการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ
การจัดโครงสร้างองค์กรและกรอบอัตรากำลัง ข้อค้นพบที่ได้ คือ ไม่มีสูตรสำเร็จในการนำหลักการจัดการขององค์กรอื่นมาประยุกต์ใช้โดยตรง ในโครงการนี้ ได้ประยุกต์ใช้การจัดโครงสร้างตามพื้นที่ (Area Base) การจัดโครงสร้างตามนโยบาย (Agenda Base) มาใช้ นอกเหนือจากการจัดโครงสร้างตามหน้าที่ (Functional Base) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเดิมขององค์กรที่มีต้นกำเนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา
การดำเนินการโครงการจำเป็นต้องศึกษาให้ครอบคลุมบริบทโดยรอบ ผลการศึกษาต้องนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง (Realistic) และทันที รวมทั้งจะต้องประสานประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
"การจัดสวัสดิการชุมชน" นั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง โครงการนี้ได้เข้าไปให้คำแนะนำแก่ผู้นำชุมชน เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการในชุมชนเมืองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น สวัสดิการเงินกู้ สวัสดิการผู้สูงอายุ และการเสริมสร้างอาชีพในชุมชนเมือง ซึ่งสำหรับบริบทชุมชนเมืองนี้ยังมีผู้สนใจศึกษาน้อย
จากโครงการฯ สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วม ทุนทางสังคม และภาคีเครือข่าย ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ของผู้สนใจ ผู้นำชุมชนอื่นๆ ผู้นำ NGO ข้าราชการที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน