ประเภทงานบริการวิชาการ
ในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การบริหารงานให้เท่าทันกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและยั่งยืน ซึ่งต้องใช้ความรู้ ทักษะเทคนิคและเครื่องมือสมัยใหม่ จึงมีความจำเป็นที่องค์กรเหล่านี้ต้องอาศัยหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากภายนอกเพื่อสนับสนุนองค์กรให้สามารถสร้างประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และทำให้ผลตอบแทนของการใช้ทรัพยากรสูงสุด
ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์สามารถให้บริการวิชาการแก่องค์กรต่าง ๆ ครอบคลุมงาน 3 ประเภทหลัก คือ
เป็นการจัดหาอาจารย์หรือนักวิชาการของสถาบัน ที่มีความสามารถเฉพาะและมีประสบการณ์สูงทั้งด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ ให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่องค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการใช้บริการที่ปรึกษา หน่วยงานสามารถกำหนดหัวข้อของการให้คำปรึกษาในรูปแบบของโครงการพัฒนาระบบ โครงการปรับปรุงการทำงาน หรือ การให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานย่อยของตน ระยะเวลาของการให้คำปรึกษาอาจเป็นไปตามระยะเวลาที่หน่วยงานเห็นเหมาะสมหรือตามที่อาจารย์ผู้ให้บริการพิจารณาว่าเป็นระยะเวลาของโครงการนั้น ๆ
เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงานวิจัย ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถครอบคลุมลักษณะและความแตกต่างของขอบเขตงานวิชาการได้อย่างกว้างขวางในศาสตร์ทุกด้าน โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริการจัดทำวิจัยที่เป็นลักษณะโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีระยะเวลากำหนดของโครงการวิจัยที่หน่วยงานขอรับบริการระบุไว้ งานวิจัยที่จัดทำมีในรูปแบบของการศึกษาความเป็นไปได้ การศึกษาผลกระทบของกิจกรรมที่หน่วยงานได้กระทำขึ้น การศึกษาความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาวะแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม ธุรกิจ อุตสาหกรรม และ การเมือง
เป็นบริการในลักษณะบริการที่แตกต่างไปจากบริการที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ลักษณะของบริการอื่น ๆ ที่ ศูนย์บริการวิชาการเคยให้บริการ คือ การจัดรายการโทรทัศน์ และ การบริการแปลเอกสารวิชาการ อย่างไรก็ตาม ผู้ขอรับบริการสามารถติดต่อสอบถามที่ศูนย์บริการวิชาการ เพื่อตรวจสอบว่า ศูนย์บริการวิชาการสามารถให้บริการในความต้องการที่มีอยู่ได้อย่างไร